น้ำปรากฏได้ในสามสถานะ ของแข็ง ของเหลวและไอ/ก๊าซ. ควอนตัมฟิสิกส์ค้นพบว่ายังมีน้ำในสถานะที่สี่[1] ศาสตราจารย์ Gerald H.Pollack (professor of Bioengineering,
University of Washington, Seattle, USA) เป็นผู้ค้นพบและได้อธิบายกระบวนการทำงานของน้ำภายในเซลล์ ในหนังสือชื่อ The Fourth Phase of Water, beyond Solid, Liquid and Vapor. Pollack เรียกน้ำในสถานะที่สี่ว่าเป็น EZ water (exclusive zone water บางทีก็ใช้คำ structured water) เป็นน้ำโซนอภิสิทธิ์
หรือโซนเอ๊กส์กลูซีฟ.
โมเลกุลน้ำในโซนนี้เกาะกันเหนียวแน่นเป็นโครงสร้างหกเหลี่ยม
แผ่เป็นตาข่ายมั่นคงและตรึงอยู่กับที่. ออกซิเจนและไฮโดรเจนเกาะติดบนตาข่ายณตำแหน่งประจำ
หากอะตอมใดอะตอมหนึ่งถูกกระทบด้วยคลื่นความถี่ใด อะตอมนั้นรับข้อมูลความถี่นั้นไว้.
ออกซิเจนแต่ละตัว เชื่อมต่อไปถึงออกซิเจนอีกหกตัว สร้างพื้นที่หกเหลี่ยมต่อๆกันไป ความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูลจึงสูงมาก.
Pollack เรียกน้ำในสถานะนี้ว่า EZ water หรือน้ำเอ๊กส์กลูซีฟ เพราะสารละลายที่อยู่ในน้ำ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย
จะถูกส่งไปอยู่ในโซนนี้ ไม่ว่าจะเติมอะไรลงในน้ำ ไอออน แบ็คทีเรีย
สารเคมีทั้งหลาย, จะมีพื้นที่พิเศษที่ประกอบด้วยมวลสารที่รักน้ำ (hydrophile)
ทำหน้าที่ปกป้องน้ำ ผลักสารละลายทั้งหมดออกไปนอกโซนเอ๊กส์กลูซีฟ และส่งให้ไปอยู่ใต้พื้นที่โซนนี้ ที่ Pollack เรียกว่าเป็นพื้นที่ของ น้ำขยะ (bulk
water). กระบวนการนี้เหมือนการขจัดมลพิษในน้ำออก.
โมเลกุลน้ำมีโครงสร้างพิเศษมากในโซน EZ นี้. อะตอมไฮโดรเจนที่มีประจุไฟฟ้าบวก
จะถูกส่งไปยังชั้นผนังที่อยู่ติดกับ "น้ำขยะ" (1H+50-) เมื่อส่งประจุบวกไปแล้ว
โซน EZ จะมีประจุลบ. น้ำ EZ ประจุลบอยู่ใกล้กับน้ำขยะประจุบวก
เกิดสมบัติของแบ็ตเตอรีไฟฟ้า. เมื่อเป็นแบ็ตเตอรี ย่อมเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า. แบ็ตเตอรีจากน้ำสองพื้นที่ดังกล่าว มีกระแสไฟเพียงพอสำหรับใช้เครื่อง LED ขนาดเล็ก (LED ย่อมาจาก
light-emitting diode หรือไดโอดเปล่งแสง เป็นสารกึ่งตัวนำ
ใช้ในหลอดไฟ LED เป็นต้น).
ภาพแสดงพื้นที่ตั้งของ EZ water และของ bulk water หรือน้ำขยะ.
ภาพจาก Energyrejuvenation.net
แถบสีเทาจางๆนั้น เป็นที่อยู่ของมวลสารที่รักน้ำ (hydrophile)
ภาพแสดงการเชื่อมโยงเป็นตาข่ายของโมเลกุลน้ำในโซนเอ๊กส์กลูซีฟ. โครงสร้างหกเหลี่ยมของโมเลกุลน้ำ
(มีสัญลักษณ์เป็น H3O2 โดยที่ไฮโดรเจนสามตัวกับออกซิเจนสองตัว
เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆบางๆ) เกาะกันไปเหนียวแน่น
ทำให้เกิดพื้นที่ว่างภายในโครงสร้างของโมเลกุล. ภาพจาก http://www1.lsbu.ac.uk/water/polywater.html
ภาพมองในแนวตั้ง น้ำขยะอยู่บน มีประจุไฟฟ้าบวก และน้ำ EZ ประจุลบอยู่ตอนล่าง. โมเลกุลของน้ำ EZ เกาะกันเป็นโครงสร้างหกเหลี่ยมแน่นหนาที่ไม่ปล่อยให้ไอออนใดแทรกซึมเข้าไปในภายในโมเลกุลได้
(เรียกอีกนัยหนึ่งว่า structured water เช่นนี้ จึงเกิดสภาวะของแบ็ตเตอรี ดูภาพต่อไปข้างล่างนี้
เมื่อเอาตัวนำไฟฟ้าลงแช่ในพื้นที่ประจุลบและประจุบวก กลายเป็นแบ็ตเตอรี มีพลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ได้.
ภาพสาธิตความเป็นไปได้ของแบ็ตเตอรี.
เห็นช่องว่างภายในโครงสร้างโมเลกุลน้ำที่มาเกาะรวมกันเป็นหกเหลี่ยม เหมือนว่าโมเลกุลน้ำเข้าล้อมสารพิษหรือสิ่งโสโครก(แสดงไว้เป็นรูปดาวเจ็ดแฉก)ชนิดต่างๆ.
เหมือนไปกักบริเวณมันไว้ แล้วกำจัดออก. หากไม่มีพื้นที่โซนเอ๊กส์กลูซีฟ - EZ zone สารพิษชนิดต่างๆกระจายไปทั่ว ควบคุมไม่ได้
ดังเห็นในด้านขวาของภาพ.
โซนเอ๊กกลูซีฟนี้ จึงมีสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีที่น่าทึ่งที่สุด.
โครงสร้างหกเหลี่ยมเกาะกันเป็นวงๆหมุนไปตามความถี่ และจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ ทำให้เกิดพื้นที่สมานฉันท์ควอนตัม
(ดังได้อธิบายใน domaine de cohérence ลิงค์นี้ https://blogchotiros.blogspot.com/2019/06/coherence.html ) ที่เป็นเหมือนเสาอากาศจับข้อมูล
เก็บข้อมูลและส่งผ่านข้อมูล ด้วยความเร็วสูงไปยังทั่วทั้งร่างกาย. เนื่องจากโซนดังกล่าวอยู่ใกล้เยื่อเซลล์
จึงเกิดปฏิกิริยาปกป้องเซลล์
ด้วยการสร้างสายใยกับโมเลกุลบางตัวและสร้างทางเข้าออกเซลล์ให้เป็นไปอย่างสะดวก. สารพิษถูกส่งออกไปจากเซลล์
เก็บข้อมูลที่เป็นคลื่นเป็นความถี่ไว้. การธำรงโซน EZ ให้ตั้งอยู่ด้วยดี ส่งผลต่อสุขภาพอย่างยิ่ง. โซน EZ นี้จึงเป็นทั้งโซนบันทึกข้อมูลและโซนพลังงาน(เป็นแบ็ตเตอรี)
ที่อยู่คู่ขนานกับการปฏิบัติงานของหน่วย
mitochondria (เป็นอวัยวะขนาดจิ๋วมากที่อยู่ภายในเซลล์ส่วนใหญ่
เป็นพื้นที่ของกระบวนการชีวเคมีของระบบหายใจ ของระบบพลังงาน)
Pollack เชื่อว่า EZ water จะเป็นหน่วยความจำประสิทธิภาพสูงสำหรับอนาคต
และข้อมูลจากน้ำ EZ เป็นกุญแจสำคัญในการธำรงสุขภาพ.
เนื่องจากน้ำ EZ มีประจุไฟฟ้าลบ น้ำที่มีประจุไฟฟ้าลบ
มีสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระ. น้ำ EZ จึงดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำกรองชนิดใด
(เช่นน้ำจากเครื่องกรองระบบรีเวอส์ออซโมซิส). จากการทดลองหาน้ำในสถานะที่สี่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีน้ำ
(water-based technology) เครือข่ายการวิจัยของสถาบัน
Pollack เบนไปสู่การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณภาพน้ำเพิ่มขึ้นด้วย
(และเป็นธรรมดาในสหรัฐฯ ทันทีที่รู้เรื่องน้ำ EZ ก็มีบริษัทผลิตอุปกรณ์ทำน้ำ
EZ ออกจำหน่าย)
นำไปสู่การเปลี่ยนน้ำดื่มต่างๆให้เป็นน้ำคุณภาพ EZ.
แต่เรากระตุ้นน้ำให้มีคุณภาพดี พอๆกับน้ำ EZ ด้วยวิธีง่ายๆได้เช่น
คนน้ำ, เติมน้ำมะนาวลงในน้ำดื่ม, ใช้แสงอัลตราไวโอเล็ตหรือแสงอินฟราเรดส่องลงในน้ำ,
ให้แสงแดดส่องลงในน้ำดื่ม(สักสองสามชั่วโมง), หรือเพ่งสมาธิไปที่น้ำเป็นต้น. ยืนยันกันว่า
น้ำที่ไม่ใช่ EZ ไม่ช่วยให้ร่างกายชุ่มชื้นขึ้นอย่างเป็นผล
ทั้งยังอาจทำให้ไตทำงานหนักขึ้นเมื่อต้องซึมซับน้ำ "ที่ไร้ชีวิต". (ref. steemit.com ข้อมูลอเมริกัน)
อนุภาคที่มีประจุเหมือนกัน แม้จะอยู่ห่างกัน ก็ดึงดูดกันและกันได้
เมื่อมีตัวกลางที่เป็นประจุตรงข้ามเป็นสะพานเชื่อม. ในที่สุดสองอะตอมเหมือนกันรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวได้ ขยายเป็นมวลโมเลกุลขนาดใหญ่ขึ้นๆ. ประจุบวกเกิดขึ้นจากโซนเอ๊กส์กลูซีฟนั่นเอง.
ภาพจากเว็บเพจ Steemit.com
พฤติกรรมดังกล่าว
Richard P.Feynman (1918-1988, นักทฤษฎีฟิสิกส์ชาวอเมริกันคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์,
ผู้ปฏิวัติความรู้ในสาขาควอนตัมฟิสิกส์และตั้งทฤษฎีควอนตัมอิเล็กทรอไดนามิก. เขาได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี
1965) ได้เจาะจงไว้ว่า เป็นการดึงดูดแบบ « like-likes-like through
an intermediate of unlikes » ในทำนองว่า
ชอบเหมือนกันไปด้วยกันได้ (ที่ขัดกับทฤษฎีฟิสิกส์หัวเก่าโดยเฉพาะในเรื่องประจุไฟฟ้าว่า
ขั้วต่างกันเท่านั้นที่จะวิ่งเข้าหากัน) แต่การดึงดูดของขั้วเหมือนกันนั้นเกิดขึ้นได้เพราะมีขั้วตรงข้ามมาเป็นสะพานเชื่อมและเป็นแรงกระตุ้นให้เข้าหากันในที่สุด.
Pollack ได้ทดลองและได้ผลเช่นนั้นในสารเหลว (ในกรณีนี้คือในโมเลกกุลน้ำ).
การดึงดูดเข้าหากันเช่นนี้ต้องใช้พลังงาน ซึ่งมีพร้อมให้ใช้ได้อย่างสะดวกจากบริบทแวดล้อมอยู่แล้ว.
ดังที่กล่าวมา การมีโซนเอ๊กส์กลูซิฟ
ทำให้เกิดสมบัติของแบ็ตเตอรีที่ให้กำเนิดไฟฟ้าพร้อมนำไปใช้ได้. กระบวนการทำงานในโซนเอ๊กส์กลูซีฟของโมเลกุลน้ำ
อาจเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปจากระดับโมเลกุลขนาดเล็ก ต่อไปถึงโมเลกุลขนาดใหญ่ขึ้นๆและเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
จนถึงเซลล์มีชีวิต. สิ่งเดียวที่จำเป็นคือ
น้ำ แสงสว่าง และอนุภาคหรือโมเลกุล. หากปัจจัยเหล่านี้ มีประจุเหมือนกัน
ก็จะเข้ารวมตัวกันเองเป็นมวลที่เข้มข้นมากขึ้นๆมวลหนึ่ง. Pollack เชื่อว่า กระบวนการนี้ น่าจะอธิบายกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้.
(Pollack et al., 2009)
เมื่อเข้าใจพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโซนเอ๊กส์กลูซิฟของโมเลกุลน้ำ จึงพูดได้เต็มปากว่า คนเป็นแบ็ตเตอรีที่มีชีวิต.
น้ำในร่างกายของเรา
กักน้ำบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้นและมีประจุไฟฟ้าไว้เต็มเปี่ยม. กระบวนการแม่เหล็กไฟฟ้าของน้ำในเซลล์
ศักยภาพของการเป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งข้อมูล เป็นตัวจัดระเบียบการทำงานของเซลล์.
ในที่สุดอธิบายหลักการเยียวยารักษาโรคด้วยโฮมีโอปาธีย์ (Homeopathy) หรือด้วยการฝังเข็ม หรือการรักษาด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า.
Mae
Wan Ho (ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมศาสตร์
สัญชาติอังกฤษ, 1941-2016) กล่าวว่า
โครงสร้างน้ำเป็นพื้นฐานของความสมัครสมานในระบบการทำงานของร่างกาย, แสงและเสียงเป็นตัวบริหารจัดการน้ำในเซลล์ (ที่เบ็นเวอนิสต์เรียกว่า
เป็นการสั่นของโมเลกุล - les vibrations moléculaires).
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ
Mae Wan Hoได้ในเว็บเพจนี้ >> https://geneticliteracyproject.org/glp-facts/mae-wan-ho/
ไม่มีข้อสงสัยอีกต่อไปแล้วว่า
น้ำเป็นเครื่องมือสื่อสารที่พิเศษสุด
เป็นตัวช่วยความทรงจำของเรา. สามสิบปีผ่านไปจากการศึกษาค้นคว้าของเบ็นเวอนิสต์
ที่วงการวิทยาศาสตร์(ประเภท bad science and big business) ประณามผิดๆในทศวรรษที่ 1980 ทฤษฎีของเบ็นเวอนิสต์ให้เรามีทางเลือกใหม่
มีความเป็นไปได้ใหม่ๆในวิวัฒนาการของชีววิทยาและการแพทย์. ได้เปิดศักราชใหม่ของความรู้
ขจัดมิจฉาทิฏฐิ และลดความโลภจากธุรกิจสุขภาพที่ยังคงครองโลกอยู่ในขณะนี้.
เมื่อเราเข้าใจสมบัติแท้จริงและอย่างเจาะลึกของน้ำภายในเซลล์ของร่างกายคน เราจึงรู้โดยไม่มีข้อสงสัยใดๆแล้วว่า คนไม่เป็นเพียงมวลสาร (matter)
แต่คนคือพลังงาน แสง
เสียงและความถี่ด้วยพร้อมกัน.
* * * * *
องค์ประกอบที่สามของโมเลกุลน้ำ
วิทยาศาสตร์ใช้เวลานานมากกว่าจะยอมรับว่า
นอกจากไฮโดรเจนและออกซิเจน
ยังมีองค์ประกอบที่สามที่ซ่อนแฝงตัวอยู่ในโมเลกุลน้ำ. ควอนตัมฟิสิกส์อธิบายว่า องค์ประกอบที่สามนี้ คือความว่าง พื้นที่ว่าง สนามว่างควอนตัม
ที่ไฮโดรเจน(เป็นเชื้อเพลิง combustible) และออกซิเจน
(ตัวช่วยในการเผาไหม้) มาพบกัน
แต่ไม่เกิดการลุกไหม้ใดๆ กลับสร้างความสัมพันธ์ฉันท์มิตรอย่างนุ่มนวล
เกี่ยวก้อยกันไป เป็นน้ำที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิต.
หากคิดดูให้ถ้วนถี่ว่า 99.99 % ของโมเลกุลน้ำ คือความว่าง. โมเลกุลหนึ่ง มีความว่างนั้นที่เป็น เหมือนตลาดนัดเชื่อมคน
เชื่อมพฤติกรรม (ศาสตราจารย์ Marc Henry เรียกพื้นที่นี้ว่า
domaine de la cohérence [โดเมน เดอ โกเอร้องซ์]). ความสมานฉันท์สอดคล้องข้องเกี่ยวกัน จะยังคงอยู่เสมอ แม้ว่าโครงสร้างโมเลกุลจะเปลี่ยนตลอดเวลา (ที่สืบเนื่องกับพฤติกรรมพันธะไฮโดเจน
ดังอธิบายมาในตอนที่ ๔).
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในความว่าง ที่เป็นเหมือนพื้นที่ชุมชน, มาร์ก
อ็องรี
เทียบว่าเป็นพฤติกรรมเดียวกับที่ฝูงปลาเคลื่อนที่ไปด้วยกันทั้งฝูงใต้ทะเลลึก
เป็นหน่วยหนึ่งหน่วยเดียวกัน หรือฝูงนกที่เกาะบินกันไปเป็นกลุ่มโตมองเหมือนก้อนเมฆก้อนเดียวกัน
เคลื่อนที่ไปพร้อมกัน ในทิศทางเดียวกันโดยไม่ผิดพลาด ร่วมกันไปใน perfect synchronization. พื้นที่ว่าง จึงสำคัญยิ่ง มิใช่ไม่มีอะไร. ไม่มีอะไรที่ตาคนมองเห็น
แต่มีอะไรที่ตาคนมองไม่เห็น นั่นคือมีแสง. แสงคืออะไร แสงคือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งคือรูปแบบหนึ่งของพลังงาน เมื่อมีการเคลื่อนไหว มีคลื่น มีการสั่นกระเพื่อม มีความถี่
มีการแลกเปลี่ยน มีพลังงานและมีชีวิต
เพราะฉะนั้น พื้นที่ว่างไม่ว่างดังที่เห็น
เป็นพื้นที่จริงในอีกมิติหนึ่ง เป็นความจริงเสมือน หรือ virtual reality.
ควอนตัมฟิสิกส์ยืนยันว่า
ไม่มีอะไรหยุดนิ่งอยู่กับที่ในธรรมชาติ ชีวิตคือการเคลื่อนไหว
ธรรมชาติไม่เคยหยุดไม่เคยพัก มโนสำนึกก็เป็นเช่นนั้น. บรรดากฎของควอนตัมฟิสิกส์ทั้งหมดนั้น
เป็นกฎบริสุทธิ์ของธรรมชาติแท้ๆ แต่น่าเสียดายว่า
ตาคนเข้าไปสังเกตไม่ได้ เพราะทันทีที่มีตา(มีจิตสำนึก) เข้าไปสัมผัส
ธรรมชาติของสิ่งนั้นเปลี่ยนในบัดดล. เท่ากับยืนยันว่า มีชีวิต คือมีวิญญาณสำนึก (conscience)
และวิญญาณสำนึกของคน อยู่เหนือสสาร-matter. นี่คือกฎพื้นฐานของควอนตัมฟิสิกส์ที่ทดลองกันมานับครั้งไม่ถ้วนแล้วในห้องแล็บวิทยาศาสตร์. (ติดตามตอนที่ ๖ สสารคือมายา ทุกอย่างเป็นคลื่น).
วิญญาณสำนึกของคนตั้งอยู่ที่ไหนในร่างกาย?
สำหรับศาสตราจารย์ Marc Henry ในเมื่อ 99%
ของโมเลกุลทั้งหมดในร่างกายคนคือโมเลกุลน้ำ และเมื่อวิเคราะห์เจาะลึกถึงสมบัติพิเศษของน้ำทางเคมี
และพฤติกรรมของน้ำในทุกมิติของควอนตัมฟิสิกส์(ดังได้แจกแจงมาข้างต้น) จึงไม่มีข้อสงสัยใดๆอีกแล้วว่า น้ำในร่างกายคน เป็นฐานที่ตั้งของวิญญาณสำนึก conscience และเป็นที่เก็บข้อมูล/data, เก็บ "สัญญาณ"
ต่างๆของแต่ละคนจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมทั้งเป็นที่เก็บความรู้สึก
อารมรมณ์ต่างๆของคน (ที่เคยและยังเชื่อกันจนทุกวันนี้ว่าอยู่ในสมองซีกซ้ายส่วนที่เรียกว่า hippocampus. ณนาทีปัจจุบัน ความรู้นี้ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย). บัดนี้มีการค้นพบใหม่แล้วว่า ทั้งหมดอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ทั่วไปในร่างกาย
(ย้ำกันอีกทีว่า ร่างกายคนมีประมาณ 37.2 ล้านล้านเซลล์. 2/3 ของน้ำหนักตัวคน
คือน้ำหนักของน้ำภายในเซลล์ทั้งหมดของคน และอีก 1/3 คือน้ำหนักของน้ำที่หล่อเลี้ยงระหว่างเซลล์ทั้งหลายนี้). ชัดเจนว่าน้ำคือชีวิตจริงๆ
จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่เอาน้ำเข้าเป็นฐานข้อมูล เป็นพื้นที่ของการศึกษาวิเคราะห์วิจัยด้านสรีรวิทยา
พฤติกรรมชีวเคมีของร่างกาย และจิตวิทยาเป็นต้น.
ในที่สุดยืนยันความถูกต้องของผลงานวิจัยเรื่อง
น้ำมีความทรงจำ ของ Jacques
Benveniste (ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980). ความจริงเบ็นเวอนิสต์ได้ขอให้ห้องแล็บอื่นๆอีกสามแห่งทำการทดลองตามกระบวนการของเขา
(ที่เมือง Toronto, Canada; ที่เมือง
Milan, Italy และที่เมือง Marseille, France) ผลที่ได้จากทุกแห่ง เหมือนที่เขาทำได้ทุกประการ.
ยืนยันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการค้นพบสมบัติที่อัศจรรย์ที่สุดนี้.
Luc Montagnier (ผู้ค้นพบไวรัสเอชไอวีที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคเอดส์
เขาได้รางวัลโนเบลในปี 2008) นำความคิดไปต่อยอดและด้วยเทคนิคที่เบ็นเวอนิสต์เคยใช้
ทำให้แกะรอยไวรัสต่างๆได้เช่นเอชไววีเป็นต้น. เขาได้พิสูจน์ชัดเจนว่า เป็นไปได้ที่จะให้น้ำจดจำข้อมูลแม่เหล็กไฟฟ้าของมวลสารหนึ่ง
และใช้ให้เป็นประโยชน์ในการรักษาโรค เช่นโรคเส้นประสาทเสื่อมถอย (Alzheimer, Parkinson,
autism).
เรื่องความทรงจำของน้ำ
มิใช่เป็นประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์หัวเก่า จะโต้แย้งได้อีกต่อไป
เพราะรังแต่ประจานความไม่รู้และความจำกัดของตัวเอง.
เพราะมีน้ำในสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตจึงเป็นฐานหลักของกลไกควอนตัม มีศักยภาพควอนตัมที่ส่งผลเป็นระรอกๆข้ามมิติ เป็นเหมือนบันไดเชื่อมจากมิติของอะตอมเรื่อยขึ้นไปสู่มิติของจักรภพ.
นอกจากเห็นโลกสามมิติ ยังอาจเห็นโลกในมิติที่สี่ ที่ห้าเพิ่มขึ้นอีก
หรือเห็นโลกคู่ขนาน. โลกควอนตัมฟิสิกส์ในปัจจุบันเป็นโลกหกมิติ.
วิทยาการที่ใช้เจาะหาความรู้ในสมัยปัจจุบัน
เบนออกจากการศึกษาสิ่งใหญ่ๆไปสู่การส่องกล้องสังเกตสิ่งเล็กๆมากขึ้น.
การเห็นชีวิตหรือพฤติกรรมของอะตอม ที่เป็นทั้งอนุภาคและเป็นคลื่นในสัดส่วนนาโนเมตร ยิ่งพาให้เข้าถึงและเข้าสู่ใจกลางของจักรภพมากขึ้น… ที่คนไม่เคยคาดคิดมาก่อน
๒๐ สิงหาคม
๒๕๖๒
ติดตามตอนที่ ๖ : สสารคือมายา ทุกอย่างเป็นคลื่น.
[1] ศาสตราจารย์ Marc Henry เรียกน้ำในสถานะที่สี่ว่า
l'eau morphogénétique ว่า เป็นน้ำที่ทำหน้าที่เหมือนอ่างอุ้มชีวิตไว้.
No comments:
Post a Comment