Luisenpark, Manheim, Germany
นั่งเรือล่องไปตามน้ำที่เมืองอาเมียงและลุบเบเนาแล้ว
ตามไปนั่งเรือที่แล่นไปโดยไม่มีคนพายคนถ่อที่สวน Luisenpark
เมือง Mannheim ประเทศเยอรมนี.
เทคนิคสมัยใหม่ ช่วยให้จัดระบบการเดินเรือไปได้ ทีละลำ เรียงๆกันไป เคารพระยะห่างอย่างสมบูรณ์
เข้าสมัยโควิด19. อีกประการหนึ่ง
จะลงเรือคนเดียวสองคน หรือไปเป็นกลุ่ม ก็ตามใจชอบ. ไปคนเดียว ก็นั่งไปคนเดียว
เบิกบานใจจริงๆ. สวน Luisenpark เป็นหนึ่งในสวนที่น่าเดิน
น่าไปพักผ่อน นับเป็นโชคมหันต์ของชาวเมืองมานไฮม ที่มีสวนใหญ่กลางเมือง
เป็นปอดที่ดีที่สุดของทุกคน.
เส้นทางเรือที่เขาจัดให้ล่องไป
ผ่านไปยังสวนนกกระเรียน-ฟลามิงโก และสวนนกกระทุง ที่อยู่ใกล้ๆกัน แชร์พื้นน้ำกว้างใหญ่ในสวนอย่างเพื่อนบ้านที่ดี.
นกขาวและนกดำ
อยู่ด้วยกัน ไม่เคยมีปัญหาสี
สีดำคือนกกาน้ำทะเล
Cormorant
สีขาวคือนกกระทุง Pelican
ที่สวนสัตว์-พฤกษศาสตร์ Wilhema เมือง Stuttgart
นกกระทุง (pelican
[เพ็ลหลิเขิ่น])
มีชีวิตในเขตร้อนชื้นและเขตอบอุ่น. เป็นนกที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่มีการแบ่ง
“ชนชั้น” ทุกตัวมีศักดิ์ศรีเสมอกัน อาจจะยอมกันนิดหน่อยแก่นกตัวเฒ่ากว่า.
นกกระทุงเป็นนกขนาดใหญ่ หนักได้ถึง 10 กิโลกรัม
มีปีกยาวราว 3.5 เมตร.
มีจะงอยปากยาวและใหญ่ จะงอยปากล่าง เชื่อมกับกระเปาะที่ยืดขยายใหญ่ได้
ตามปริมาณอาหารที่นกจับได้ ด้วยการอ้าปากช้อนปลาขึ้นจากน้ำ (จากแม่น้ำหรือทะเล).
ไม่มีปัญหาเรื่องสี
แต่อาจมีปัญหาการจับจองพื้นที่กระมัง
คู่นกผัวเมีย มีลูกสองสามตัว ช่วยกันกกไข่.
ทั้งพ่อและแม่นกเป็นผู้ให้อาหาร เมื่อจะให้อาหารลูก พ่อนกหรือแม่นก
ใช้ปากกดทับลงบนหน้าอกของตัวเอง คายอาหารออกมา. เติบโตออกจากรังได้
นกกระทุงตัวน้อยๆจะอยู่รวมกันหลายครอบครัว
มีนกกระทุงพ่อแม่ที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลนกน้อยทั้งทีม. เมื่อเดินได้ นกน้อยทั้งหลาย
จะตรงไปหาอาหารกินจากปาก จากกระเปาะใต้จะงอยปากของพ่อแม่นกเลย บางทีก็ยื่นลึกเข้าไปในลำคอนกพ่อนกแม่. เมื่อไม่ออกไปหาปลา นกกระทุงชอบนอนในสายลมแสงแดด
ไซ้ขนของมันอย่างสบายอกสบายใจ.
เมื่อนกกระทุงช้อนปลาเข้าปาก
มีที่เก็บเป็นถุงที่ส่วนล่างของปากนก ที่ต่อกับลำคอลงไปถึงกระเพาะอาหาร. ภาพจาก pinterest.com
ภาพนกกระทุงจำหลักบนกำแพงหินในหมู่ภาพวิถีชีวิตของชาวอีจิปต์โบราณ
ดูเหมือนว่า นกกระทุงเป็นนกประดับสวนในวัง.
นักบวชอีจิปต์ถือว่านกกระทุงมีศักดิ์ศรีเสมอหงส์ “เป็นแสงสว่างกกไข่ของโลก”.
ตามตำนานกรีกและโรมัน, พฤติกรรมของนกที่เหมือน
“ตีอก” ตัวเอง ทำให้เกิดมโนว่า นกกระทุงจิกหน้าอกตัวเอง ยิ่งเมื่อเห็นเลือดติดปลาที่ขย้อนออกมาจากกระเพาะผ่านลำคอออกมาเลี้ยงลูกนก
ยิ่งทำให้ตระหนักถึงความเสียสละของพ่อแม่นกกระทุง จึงยกนกกระทุงให้เป็นสัญลักษณ์ของความรักความเสียสละของพ่อแม่.
(ณนาทีนี้ นึกถึงเพลง “ค่าน้ำนม”)
โมเสกภาพนกกระทุงที่จิกหน้าอกตัวเองจนเลือดไหล เลี้ยงลูกนกกระทุง
ภาพที่เห็นบ่อย ประดับวัด วิหาร โบสถ์.
http://lieuxsacres.canalblog.com/archives/2016/02/05/33325008.html
ตำนานและศรัทธาในตัวนกกระทุง สืบต่อมาในยุคกลาง
และได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในระบบสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์
ที่เสนอภาพของนกกระทุงกำลังจิกหน้าอกตัวเอง เห็นเลือดไหลหยดลง
ให้เป็นอาหารเลี้ยงดูลูกนก(เมื่อจับปลามาให้ลูกนกทั้งหลายไม่ได้หรือไม่พอ).
และเมื่อลูกนกถูกงูรัดจนตาย พ่อนกหรือแม่นก จะบินขึ้นสูง
จิกหน้าอกตัวเองให้เลือดหลั่งไหลเหมือนสายฝน ตกลงต้องตัวลูกนก
และทำให้ลูกนกฟื้นคืนชีวิต.
นกกระทุงจึงเป็นสัญลักษณ์ของการเสียสละ
การยอมทนทุกข์ทรมานตัวเองและการฟื้นคืนชีวิต ทาบเป็นฉากหลังที่วิเศษยิ่งของชีวิตพระเยซู
ผู้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อไถ่บาปคน.
นกกระทุงจึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญในอุดมการณ์ศาสนาคริสต์.
(ยังมีเกร็ดอื่นๆเกี่ยวกับนกกระทุง ที่ทำให้นกชนิดนี้ มีอะไรพิเศษกว่านกอื่นใด
หาอ่านต่อได้ในเน็ต).
ในมุมยอดบานหน้าต่างกระจกสีที่วิหารหนึ่ง
ธงพื้นสีฟ้าปนะดับตรงกลางด้วยดอกลิลลี
เพื่อให้สอดคล้องกับคำขวัญ
มีนกกระทุง ทาบลงบนดอกลิลลีด้วย
motto ที่เขียนไว้ : Preserve and Protect
ภาพจาก https://www.craftoutlet.com/pelican-fleur-de-lis-large-flag
อาคารสถาปัตยกรรมแบบอาหรับมัวร์
กำกับชื่อไว้ว่า Damaszenerhalle หรือ Damascus Hall (เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เมือง Damascus ในซีเรียปัจจุบัน ที่เป็นศูนย์สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมอาหรับมัวร์).
อาคารนี้ในสมัยที่สร้างนั้น ใช้เป็นที่เลี้ยงนกไก่ฟ้าและไก่ประดับ. ปัจจุบันให้เช่าใช้เป็นที่จัดงานมงคลสมรส.
สวนนกกระทุงที่เคยไปเห็นและเดินเข้าไปชมได้อย่างใกล้ชิด
อยู่ในบริเวณสวนสัตว์ ที่จัดอย่างมีศิลป์ทั้งด้านพื้นที่(สวนบัวขนาดใหญ่
บัวกระด้งและบัวอื่นๆ พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับบัว, สวนกุหลาบ, แปลงดอกไม้อีกมากมาย.
ยังมีสวนนกกระเรียน-ฟลามิงโก, นกเพ็นกวินฯลฯ) และสถาปัตยกรรมแบบอาหรับ
โดดเด่นเข้ากับบรรยากาศ. เป็นสวนสัตว์บวกสวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ ที่ร่มรื่น
น่าเดิน น่าดู. อยู่ที่เมือง สตุ๊ดการ์ต Stuttgart
(Wilhema, Der Zoologische-Botanische Garten).
สำหรับผู้ที่เรียนภาษาฝรั่งเศสมา
มีบทประพันธ์ของกวีฝรั่งเศส Alfred de Musst ชื่อ Le
Pélican ที่รู้จักกันดี
ที่มีส่วนสอดคล้องกับค่านิยมและตำนานนกกระทุงที่เล่าสืบกันมาตั้งแต่ยุคโบราณจากอีจิปต์
กรีซ โรม มาถึงยุคกลางในยุโรป.
ภาพจาก pinterest.com
โชติรส รายงาน
๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
No comments:
Post a Comment