Saturday, January 18, 2020

Chestnut Tree

ใต้ร่มเกาลัด 
ช่วงวันเด็ก ได้ฟังเพลงเด็กๆเพลงหนึ่ง ชื่อ Under the spreading chestnut tree เพลงน่ารักดี ใจความสั้นกระทัดรัด เด็กจำง่าย ผู้ใหญ่จำดี  
Under the spreading chestnut tree,
There we sit, both you and me.
Oh, how happy we will be!
ดูภาพการ์ตูนนี้ก่อนนะคะ  เครดิตของวีดีโอคือ Little Fox

เนื้อเพลงง่ายๆไร้เดียงสาของเด็กสองคนที่ถูกจริตกัน พบกัน มิตรภาพเพิ่มพูน. เฉพาะประโยค Under the spreading chestnut tree เมื่อแกะรอยไป เป็นบาทเริ่มต้นในบทกวีเรื่อง The Village Blacksmith (1842)  ของ Henry Wadsworth Longfellow (1807-1882) ที่เริ่มต้นว่า >>
Under a spreading chestnut-tree
     
The village smithy stands;
The smith, a mighty man is he,
     With large and sinewy hands,…
                        …..
ติดตามไปอ่านบทกวีทั้งบทได้ที่ https://poets.org/poem/village-blacksmith
       ลองเฟลโลเป็นบุคคลวัฒนธรรมคนสำคัญคนหนึ่งของศตวรรษที่ 19 ในสหรัฐอเมริกา. กวีนิพนธ์ของเขาปรากฏอ้างอิง จดจำสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง สร้างเป็นค่านิยมของสังคมอเมริกันในศตวรรษที่ 19 และต่อมาในศตวรรษที่ 20.  สำนวนความคิดของเขา เป็นที่จดจำไม่เพียงในหมู่นักเรียน ศิลปิน นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ นักเทศน์ ในหมู่สามัญชนชายหญิงในชีวิตประจำวัน, ยังถูกนำไปอ้างอิงถึงในงานพิธีหลายประเภท. โรงเรียน สถานที่ทางภูมิศาสตร์ ผลิตภัณฑ์สามัญอื่นๆ ตั้งตามชื่อเขาหรือชื่อตัวละคนของเขา. เขามีส่วนหนึ่งทำให้ภาษาอเมริกันรวยคำ สำนวนและภาพพจน์. หลายคนในสมัยนี้ จำได้แต่สำนวน ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าดั้งเดิมใครเป็นคนกล่าวไว้ ที่ใด เมื่อใด เช่น « A boy's will is the wind's will », « Ships that pass in the night »,  « Footprints on the sands of time ».
เชิญติดตามผลงานของ H.W.Longfellow ต่อไป.

ประโยค Under the spreading chestnut tree ที่แพร่หลายรู้จักกันดี ก็ยืนยันสถานะของลองเฟลโลที่เป็นไอคอนวัฒนธรรมของชาวอเมริกัน. Glen Miller (1904-1944, นักดนตรี นักประพันธ์เพลงชาวอเมริกัน. เป็นหัวหน้าวงดนตรี big band ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในช่วงปี 1939-1940) นำประโยคนี้ และเนื้อหาจากบริบทชีวิตสามัญชนอเมริกันในหมู่บ้าน ของช่างตีเหล็ก-blacksmith มาแต่งเป็นเพลงขับร้อง (รวมทั้งที่มีการย่อเป็นบทกล่อมเด็กดังในคลิปเด็กข้างบนนี้) ชื่อ The Chestnut Tree ที่เริ่มด้วย ’Neath the spreading chestnut tree.
ฟังเพลงนี้ จากวงดนตรีของ Glenn Miller ในยุคปี 1939 ตามลิงค์นี้ >>
Glenn Miller And His Orchestra - The Chestnut Tree ('Neath The Spreading Chestnut Tree)
เนื้อร้องเวอชั่นสนุกสนานของหนุ่มๆสาวๆ จังหวะเพลงต้องรสนิยมของคนยุคนั้น
Underneath the spreading chestnut tree
I loved him and he loved me
There I used to sit up on his knee
'Neath the spreading chestnut tree

There beneath the boughs we used to meet
All his kisses were so sweet
All the little birdies went "tweet-tweet"
'Neath the spreading chestnut tree

I said "I love you", and there ain’t no if‘s or but’s
He said "I love you", and the blacksmith shouted "Chestnut!"

Underneath the spreading chestnut tree
There he said he’d marry me
Now you ought to see our family
'Neath the spreading chestnut tree!

There beneath the boughs we used to meet
All his kisses were so sweet
All the little birdies went "tweet-tweet"
'Neath the spreading chestnut tree

Underneath the spreading chestnut tree
There he said he’d marry me
Now you ought to see our family
'Neath the spreading chestnut tree!

“ต้นเกาลัดที่ทอดกิ่งไปไกล”  ภาพจากเมือง Connecticut, USA
เครดิตภาพ : apsnet.org
       ต้นเกาลัดต้นใหญ่ๆ เป็นภาพคุ้นเคยในภูมิประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในสามัญสำนึกของชาวชนบท มักเป็นที่นัดพบของทุกคน ทุกเหตุการณ์ในหมู่บ้าน (ในยามอากาศดี). มีผู้สรุปว่า ในเยอรมนี โดยเฉพาะในแคว้นบาวาเรีย (ภาคใต้ของเยอรมนี) สวนเบียร์ส่วนใหญ่ตั้งในร่มไม้ของต้นเกาลัดที่ปลูกเรียงรายกันมากตามสวน ในพื้นที่เขียวทุกแห่ง. โต๊ะกับม้านั่งยาวๆ เรียงกันใต้ร่มคันมหึมาจำนวนมาก ปกป้องคนนั่งจากฝน(หรือหิมะ) รวมทั้งใบไม้. เห็นมาเป็นเช่นนั้นจริง การไปนั่งในสวนเบียร์ใต้ร่มไม้ใหญ่ในฤดูใด(ยกเว้นฤดูหนาว) เป็นอะไรที่น่าประทับ กินไส้กรอกเยอรมันกับขนมปัง ในสภาพแวดล้อมอย่างนั้น เบิกบานใจไม่น้อยเลย.  
สวนเบียร์รอบหอเจดีย์จีน Chinesischer Turm (ข้อมูลบอกว่า จัดที่นั่งสำหรับคนได้ถึง 7000 คน เมื่อต้องการ) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสวนขนาดใหญ่ที่เรียกว่าสวนอังกฤษ หรือ  Englischer Garten  กลางเมืองมิวนิค. สวนอังกฤษที่นั่น มีพื้นที่ 3.7 ตารางกิโลเมตร นับเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เนรมิตขึ้นในปี 1789. ชาวเยอรมันนั่งรวมกัน แชร์โต๊ะยาวๆต่อๆกันไปโดยไม่เคอะเขิน ดื่มเบียร์ไปคุยไปเป็นเพื่อนกันได้ทันที. เคยไปนั่งร่วมวงคนเดียวในกลุ่มคนเยอรมัน เลยร่วมวงคุยไปด้วย (ภาษาอังกฤษ) อารมณ์ดี กิริยาท่าทางสุภาพ.
เครดิตภาพ : Die besten Restaurants in Deutschland  

         ความหมายของต้นไม้นี้ในระบบสัญลักษณ์ศาสนา คือความบริสุทธิ์ การรักษาพรหมจรรย์. ให้นึกถึงลูกเกาลัดเนื้อขาวๆใต้เปลือกแข็งที่หุ้มมันไว้ อีกยังมีเปลือกชั้นนอกอีกชั้นที่เป็นเข็มๆคมแหลม. ภาพเกาลัดจึงสะท้อนในความคิดคำนึงของชาวคริสต์ยุคต้นๆที่โยงไปถึงคุณธรรมที่ศาสนาคริสต์ต้องการปลูกฝัง (การรักษาพรหมจรรย์เป็นคุณสมบัติยากยิ่งสมบัติหนึ่งที่ยกบุคคลนั้นเป็นคนเหนือคน อาจนึกเปรียบไปถึงพระแม่มารี เหล่านักพรต นักบวช แม่ชีทั้งหลายเป็นต้น).
เกาลัดที่นำมากินเป็นอาหาร เครดิตภาพ : Madeira Island News
       นอกจากความหมายนัยคุณธรรมแล้ว ผลเกาลัดเป็นอาหารทั้งของคนและของสัตว์  มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก มีวิตามิน C, B-6 และเกลือแร่เช่นแมงกานีส ทองแดง โปตัสเซียม แม็กนีเซียม. ชาวตะวันตกเอาไปประกอบอาหาร มีหลายเมนู. และนิยมทำเป็นขนมหวานกันมากกว่า เช่นเป็นเกาลัดเชื่อม ที่ยังผลต่อสุขภาพในระยะยาว แทนการกินรสธรรมชาติ. ความคุ้นเคยส่วนตัว คือ การแกะเอาเนื้อเกาลัด หุงพร้อมข้าวจนสุก หอมน่ารับประทานมาก. การหุงข้าวพร้อมเกาลัด (หรือถั่วแดงหรือธัญพืชอื่นๆนั้น) ชาวเกาหลีทำกันมาแต่โบราณ และนำไปเผยแพร่ต่อในญี่ปุ่น. ในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นทำได้ “สวย” กว่า ข้าวปรุงพร้อมหญ้าสมุนไพรอื่นๆก็มีอีกหลายชนิด ที่ญี่ปุ่น ทำเป็นกล่องๆพร้อมกิน เป็นเบ็งโตะ-bento ติดตัวไปกินบนรถไฟเป็นต้น ราคาไม่เกินห้าหกร้อยเยน. เล่ากันมาว่า เด็กๆในเกาหลีช่วงฤดูหนาว ก่อกองไฟ เอาเกาลัดไปย่างไฟ แล้วแกะกินกันรอบกองไฟ. ผู้ที่เติบโตในชนบท มีความทรงจำเกี่ยวกับการย่างเกาลัดกินในฤดูหนาวเสมอ เชื่อมความอร่อยกับความรักบ้านเกิดในชนบท ที่นับวันจะไม่มีแล้ว เมื่อทุกอย่างมีขายแบบพร้อมแดกด่วนเป็นถุงเป็นซองก็อบแก็บเกาลัดแกะเปลือก เนื้อขาวๆนั้น กัดกินดิบๆก็ได้ รสธรรมชาติ หากสไลด์เป็นแว่นๆแผ่นบางๆ ผสมในสลัดก็ไม่เลว.
เกาลัดที่เรยกว่า Horse chestnut ไม่กินเป็นอาหาร
แต่สารสะกัดของเกาลัดพันธุ์นี้ มีสรรพคุณเป็นยา.
       George Orwell ได้แรงดลใจจากบทเพลงของ Glen Miller บทนี้ และนำดนตรีของ Glen Miller มาใช้ประกอบเรื่อง Nineteen Eighty-Four (1984 sic). แต่เปลี่ยนเนื้อเพลงให้เข้ากับเนื้อเรื่องในนวนิยายของเขา. ภาพยนต์ชื่อเดียวกันนี้ มีหลายเวอชั่น เวอชั่นแรกออกมาในปี 1954 เป็นภาพยนต์ทีวีในโปรแกรมของ British TV Programme และออกอากาศในสถานีโททัศน์บีบีซี (ตามลิงค์ที่ให้ไปชมได้ข้างล่างนี้). เท่าที่รู้ยังมีเวอชั่นปี 1984 (Virgin Films, 20th Century Fox) ออกมาวันที่ 10 ตุลาคม 1984 ในสหราชอาณาจักร.
          เนื้อเรื่องใน 1984 เกี่ยวกับชีวิตของข้าราชการคนเล็กๆคนหนึ่งในลอนดอนที่แตกสลายลงด้วยสงคราม และถูกปกครองด้วยระบบเผด็จการของมหารัฐผู้กุมอำนาจเต็มในมือชื่อ Oceania มีผู้บงการที่เรียกกันว่า Big Brother. เป้าหมายของออร์เวล ต้องการเตือนภัยของระบบเผด็จการ สร้างประเด็นให้คิดว่า สงครามคือสันติภาพ, เสรีภาพคือความอ่อนแอ, การไม่รู้คือกำลัง. ในเรื่องนี้ สมิธทำผิดสองประเด็น คือคิดเพื่อจัดชีวิตของตัวเอง และไปหลงรักผู้หญิงชื่อจูเลีย-Julia. ทั้งสองพบกันที่ร้านกาแฟ Chestnut Café, ไปเช่าห้องเพื่ออยู่ด้วยกัน แต่ถูกจับได้ แต่ละคนถูกนำไปทรมาน ให้เจ็บให้กลัว จนในที่สุดต้องประนามอีกฝ่าย ต่างทรยศกันในที่สุดและทำตัวตามคำสั่งของบิ๊กบราเดอร์เท่านั้น. ความรักความหวังสลายลง การมีชีวิตคือการรับใช้บราเดอร์ การทำเพื่อชาติคือความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ที่แท้จริงคือซื่อสัตย์ต่อผู้นำ ฯลฯ. 
          ออร์เวลเจาะจงตั้งชื่อร้านกาแฟในเรื่องว่า Chestnut Café. นัยจากค่านิยมและวิถีชีวิตในชนบท ถ่ายทอดลงในชื่อของร้านกาแฟ ที่สร้างความหวังว่าจักเป็นที่ผ่อนคลาย ที่พบปะสร้างสัมพันธ์ไมตรีต่อกันระหว่างคน.  แต่ความเป็นจริงในแดน Oceania ร้านกาแฟนั้น กลับไม่ใช่ที่ฟูมฟักความฝันในความสุขเพราะมีสายลับ. ไม่มีใครมีชีวิตส่วนตัว ทั้งในห้องที่บ้าน ก็มีกล้องมีจอคอยจับตามองตลอดเวลา. ตัวละครเอกของเขาชื่อ Winston Smith ก็ยังโยงไปถึงช่างตีเหล็กใน The Village Blacksmith ในบทกวีของลองเฟลโลที่กล่าวถึงในตอนต้น. แต่ทุกอย่างก็สลายลง เพราะระบบการปกครองเผด็จการใน Oceania ทำลายเอกบุคคล ฆ่าความหวัง ความจริงใจ ความรักเสียสิ้นทราก. กรณีของสมิธกับจูเลีย ไม่ใช่กรณีแรกหรือกรณีเดียว มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ที่ตรงกับสำนวนว่า like an old chestnut tree.
          นวนิยายเรื่อง 1984 ของออร์เวลสร้างความตื่นตัวอย่างมากในสังคมยุคนั้น มีคนอ่านทั่วโลก (ถูกห้ามขายในสหรัฐฯอยู่ระยะหนึ่ง). มีผู้ศึกษาวิเคราะห์เรื่องนี้อย่างละเอียดตามสถาบันต่างๆทั้งในอังกฤษและสหรัฐฯ. รวมทั้งวิเคราะห์ชื่อเรื่องด้วยว่าทำไมชื่อปี 1984 ออร์เวลถึงแก่กรรมในปี 1948 หลังจากเขียนเรื่องนี้จบลง. ผู้สนใจเปิดเข้าไปอ่านได้อย่างละเอียด ตัวอย่างเช่นติดตามไปอ่านใน The Guardian . คิดว่าหลายคนอาจได้อ่านมาแล้วในแผนกภาษาอังกฤษ. ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการจะนำเนื้อหาเรื่องนี้มาสาธยายในที่นี้  ต้องการเพียงพูดถึงต้นเกาลัดเท่านั้น. ส่วนบทประพันธ์เรื่อง The Village Blacksmith ของ Henry Wadsworth Longfellow ก็มีผู้วิเคราะห์ไว้หลายคน กาพย์กลอนย่อมถูกจริตส่วนตัวมากกว่าเนื้อหาในนวนิยายของออร์เวล. การเมืองที่มีบิ๊กบราเดอร์ คนไทยคุ้นกับมันมานานในระดับต่างๆ ทั้งระดับประเทศ ระดับสถาบัน ระดับองค์กร ระดับสังคมจนถึงระดับครอบครัว. เนื้อเรื่องจึงไม่ตกยุคสำหรับสังคม “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”. สำนวนที่พูดกันว่า “มีวันนี้เพราะพี่ให้” ยังก้องอยู่ในหู.
          ส่วนนื้อเพลงใน1984 ที่ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสำหรับนวนิยาย มีดังนี้  

Under the spreading chestnut tree
ใต้ต้นเกาลัดที่ทอดกิ่งไปไกล
I sold you, you sold me
 
ฉันขายเธอ เธอขายฉัน
There lie they, here lie we
ที่นั่นผู้บริหารทอดกายไร้กังวล ที่นี่เราโกหกกันและกัน
Under the Spreading Chestnut tree.
ใต้ต้นเกาลัดที่ทอดกิ่งไปไกล

I've never been alone
It's comfort to know
Leaves a chill in my bones
The written word is a lie

And our children are spies
Yet I don't want to die
Proof lies in the words that I write

But if I were to fight
Would it be worth my life
They sing whatever they choose
Only birds and proles do

Why should I not sing too?
What have I to loose?
Unless their price is you
You are the risk i will take

For every law I can break
Proves I am their mistake
Beaten and broken apart
Its science and art

But they can't break my heart
We will do whatever they ask
Staying out of their grasp
Was an impossible task

Their wrong outweighs their right
But how can I fight
When they threaten my life
Two and two equal five
In the place full of life

Under the spreading chestnut tree
ใต้ต้นเกาลัดที่ทอดกิ่งไปไกล
I sold you, you sold me
 
ฉันขายเธอ เธอขายฉัน
There lie they, here lie we
ที่นั่นผู้บริหารทอดกายไร้กังวล ที่นี่เราโกหกกันและกัน
Under the Spreading Chestnut tree.
ใต้ต้นเกาลัดที่ทอดกิ่งไปไกล

I sit and waste away
In the corner Cafe
As a song starts to play
I stare into the eyes so stern
And as the bullet enters
I will live, I have learned

Under the spreading chestnut tree
ใต้ต้นเกาลัดที่ทอดกิ่งไปไกล
I sold you, you sold me
 
ฉันขายเธอ เธอขายฉัน
There lie they, here lie we
ที่นั่นผู้บริหารทอดกายไร้กังวล ที่นี่เราโกหกกันและกัน
Under the Spreading Chestnut tree.
ใต้ต้นเกาลัดที่ทอดกิ่งไปไกล

เนื้อหาของเพลงกระจ่างชัดเจน ทำให้เข้าใจทั้งเรื่องได้ไม่ยากนัก. ท่อนที่ได้ยินซ้ำๆในภาพยนต์ คือ บทสร้อยเท่านั้น.
คลิกชมภาพยนต์เรื่อง 1984 เวอชั่นปี 1954

จบด้วยบทนี้ จากบทกวีเรื่อง My Lost Youth ของ Henry Wadsworth    Longfellow (1858)
     There are things of which I may not speak;
         There are dreams that cannot die;
     There are thoughts that make the strong heart weak,
           And bring a pallor into the cheek,
                   And a mist before the eye.
                                    And the words of that fatal song
                                               Come over me like a chill:
                            « A boy's will is the wind's will,
              And the thoughts of youth are long, long thoughts. »
  
บันทึกความชอบเรื่องเกาลัด ของโชติรส
๑๗ มกราคม ๒๕๖๓.

No comments:

Post a Comment