ร่างกายมีปัญญาสร้างสุขด้วยกระบวนการหัวเราะ.
หัวเราะเป็นธรรมชาติของคนทุกเพศทุกวัย ไม่มีพรมแดนเรื่องภาษาหรือวัฒนธรรม. การที่คนหรือสัตว์รู้จักหัวเราะ เป็นพฤติกรรมที่ติดมากับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก
และมิได้เลือนหายไปในช่วงระยะอันยาวนานนั้น ยืนยันว่า การหัวเราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยธำรงชีวิตในความสมดุล
หรือจำเป็นเพื่อการอยู่รอด. การวิจัยในห้องปฏิบัติการแพทย์เช่นในออสเตรีย อินเดีย
สหรัฐฯ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หัวเราะทำให้สุขภาพดีขึ้น.
หัวเราะมีบทบาทสำคัญในระบบกล้ามเนื้อ
ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบจิตวิทยาของคน.
ในมุมมองของสรีรศาสตร์ การหัวเราะคือ
เร่งลมหายใจ คือการออกกำลังทั้งใบหน้า ทรวงอก ท้อง กล้ามเนื้อสมอง. เมื่อหัวเราะ กลไกในร่างกาย หลั่งสารเซโรโทนิน (serotonin) ออกมามากกว่าปกติในระบบย่อยอาหารทั้งกระเพาะและลำไส้.
หัวเราะไปเขย่าหัวใจ
เหมือนการจ็อกกิ้งภายใน หรือการเล่นแอโรบิก หัวใจสูบฉีดแรงขึ้น กระบังลมขยาย ความดันภายในเปลี่ยนไป
ทำให้การไหลของน้ำเหลืองในช่วงอกเร็วกว่าปกติ 10-15 เท่า, เม็ดเลือดขาวที่คือเซลล์ทหารนักสู้โรคในระบบภูมิคุ้มกันถูกปล่อยออกมาจากต่อมน้ำเหลือง.
ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแกร่งขึ้น หากป่วยเป็นอะไรก็หายเร็ว.
หัวเราะในปริมาณเพียงพอ เทียบได้กับการวิ่งไปร้อยเมตร
โดยไม่ทำให้ปวดเมื่อย. ในขณะเดียวกัน ปอดปล่อยอากาศคั่งค้างออกมาจำนวนมาก(สองลิตร)
สูบฉีดรับออกซิเจนใหม่ๆเข้าไป กระแสเลือดไหลคล่อง และสมองก็ได้ออกซิเจนใหม่ๆด้วย.
ส่วนร่างกาย
ปล่อยตัวและผ่อนคลาย, ปริมาณฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล (cortisol ศัตรูหมายเลขหนึ่งของสุขภาพ) ลดลง. เมื่อร่างกายผ่อนคลาย จังหวะการเต้นหัวใจช้าลง
ทำให้เส้นเลือดขยายตัว และความตึงในกระแสเลือดลดลง. ต่อมฮอร์โมนในสมอง และสมองส่วนไฮโปทาลามัส
(hypothalamus)
หลั่งสารเข้มข้นของเอ็นโดฟิน, สารโดปามิน, และสารฮอร์โมนอื่นๆรวมทั้งสารกรดอะมีโนสำหรับเซลล์ประสาท
ทั้งหมดเป็นฮอร์โมนความสุข ที่มาพร้อมกับพลังบวกในระบบหมุนเวียนของกระแสเลือดในหัวใจและหลอดเลือด.
การหัวเราะจึงลดความเสี่ยงเกี่ยวกับหัวใจ เช่นระบบหมุนเวียนของโลหิต,
การหดตัวของหลอดเลือดเป็นต้น.
ฮอร์โมนความสุข กระตุ้นความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้อเฟื้อ ความร่วมมือต่อกัน,
ลดความเครียดลง คือลดอารมณ์ฉุนเฉียว โทสะจริต, จิตใจสงบลง มองชีวิตแง่ดีขึ้น
มีความยืดหยุ่น สร้างภาพดีๆให้ตัวเอง แก้ปัญหาหรือตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุม
เป็นต้น.
มีระบุด้วยว่า คลื่นสมองเมื่อคนหัวเราะจริงจัง
ใกล้เคียงกับคลื่นสมองของคนที่นั่งสมาธิลึกๆ, เหมือนสมองได้ออกกำลังฟิตเนส. คลื่นแกมมา (gamma
คลื่นความถี่ชนิดเดียวที่กระจายไปทั่วในสมองคน) จับมือปิ๊งไปทั่วทุกพื้นที่ในสมอง
ในความถี่ระหว่าง 30-40 Hz. ในสภาวะเช่นนี้ สมองทำงาน คิดและจัดระบบความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและดีขึ้นด้วย.
เมื่อกล้ามเนื้อผ่อนคลาย กระบวนการเมตาบอริสซึมของเซลล์ดีขึ้น
เซลล์เก่าๆถูกขับออกไปเร็วขึ้น เซลล์ใหม่ๆถูกสร้างขึ้นมาแทน. สรุปได้ว่า
หัวเราะบ่อยๆเป็นประจำทุกวัน ส่งผลดีต่อระบบการทำงานอื่นๆของร่างกาย
เช่นระบบย่อยอาหาร. หัวเราะยังไปช่วยนวดเส้นสายของลำไส้, วันไหนได้หัวเราะมาก
ยังทำให้หลับสบาย.
หัวเราะคือการมอบของขวัญที่ดีที่สุดให้ตัวเอง ใบหน้าเบิกบาน แจ่มใส ตาเป็นประกาย สวยขึ้น หล่อขึ้น.
จิตรกรรมผลงานของเร็มบรันด์ (Rembrandt van Rijn, 1606-1669)
เครดิตภาพ Getty Museum
« เราไม่หัวเราะเพราะเรามีความสุข
แต่เรามีความสุขเพราะเราหัวเราะ»
นี่คือสโลแกนตามวิสัยทัศน์ของนายแพทย์มาดัน
กาตาเรีย (Madan
Kataria) ชาวอินเดียผู้สถาปนาคลับโยคะหัวเราะขึ้น ในสวนเมืองมุมไบ(บ็อมเบ)อินเดีย
เมื่อปี 1955 เพื่อปลูกฝังความมีชีวิตชีวาในหมู่ชาวเมือง
และการมองโลกในแง่ดีด้วยการหัวเราะ.
โยคะหัวเราะของเขา (Hasyayogo, Laughter Yoga หรืออีกชื่อว่า Humor therapy ที่มีใจความกว้างกว่า) ประสมประสานการหายใจ (การควบคุมลมปราณ หรือ Prāṇāyāma) กับการหัวเราะโดยไม่ต้องมีเหตุเร้าหรือเรื่องขบขันใดมากระตุ้น. เขายืนยันแลพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นไปได้ตามนี้จริง
ไม่ว่าใครก็หัวเราะเป็น โดยไม่มีเหตุผล โดยไม่มีเรื่องขำหรืออารมณ์ขัน. วิธีการเริ่มต้นด้วย
ผู้นำเชิญชวนให้แต่ละคนหัวเราะ ให้ตามองไปยังคนอื่นๆในกลุ่มเสมอ.
เมื่อทุกคนอยู่ในสภาพเดียวกันนี้ เห็นทุกคนหัวเราะกันทั่ว เหมือนก้อนหิมะกลมๆที่กลิ้งไปบนทางลาด
รวบเอาหิมะบนเส้นทางรวมเข้าไปในก้อนกลมนั้น จนก้อนหิมะโตขึ้นๆ. เริ่มจากการบังคับตัวเองให้หัวเราะ
จนกลายเป็นหัวเราะจริง และเหมือนโรคติดต่อ ทุกคนหัวเราะงอหาย. เขาบอกว่าโยคะหัวเราะมีฐานวิทยาศาสตร์รองรับ
และยืนยันว่าร่างกายไม่แยกแยะความแตกต่างระหว่างการแกล้งหัวเราะกับการหัวเราะตามธรรมชาติ.
ในทั้งสองกรณี ผู้หัวเราะได้ประโยชน์ทั้งทางกายและทางใจ.
การระเบิดหัวเราะเหมือนเด็กๆนั้น ยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งยาก ส่วนใหญ่ต่างคิดว่า มันต้องมีบริบทที่ทำให้หัวเราะก่อน. โยคะหัวเราะเริ่มด้วยการฝึกให้หัวเราะแบบกลไก. หายใจถี่ๆ ทำให้กระบังลมกระเพื่อม ร่างกายจะหัวเราะเป็นระรอกๆเหมือนน้ำตก. และแม้ว่ามันไม่ใช่หัวเราะเพราะขบขันจริงๆ แต่การสั่นสะเทือนของกระบังลม เป็นยาต้านที่ดีสำหรับคนเบื่อชีวิต. ปกติคนมักเก็บกดหรือปกปิดอารมณ์ความรู้สึก การกล้าหัวเราะ ช่วยปรับเปลี่ยนและกระตุ้นสภาพจิต. ฝึกไปนานๆให้ร่างกายคุ้นชิน จนกลายเป็นอัตโนมัติ, ไม่นาน การหัวเราะตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นเองและเกิดง่ายขึ้นๆในชีวิตประจำวัน.
การระเบิดหัวเราะเหมือนเด็กๆนั้น ยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งยาก ส่วนใหญ่ต่างคิดว่า มันต้องมีบริบทที่ทำให้หัวเราะก่อน. โยคะหัวเราะเริ่มด้วยการฝึกให้หัวเราะแบบกลไก. หายใจถี่ๆ ทำให้กระบังลมกระเพื่อม ร่างกายจะหัวเราะเป็นระรอกๆเหมือนน้ำตก. และแม้ว่ามันไม่ใช่หัวเราะเพราะขบขันจริงๆ แต่การสั่นสะเทือนของกระบังลม เป็นยาต้านที่ดีสำหรับคนเบื่อชีวิต. ปกติคนมักเก็บกดหรือปกปิดอารมณ์ความรู้สึก การกล้าหัวเราะ ช่วยปรับเปลี่ยนและกระตุ้นสภาพจิต. ฝึกไปนานๆให้ร่างกายคุ้นชิน จนกลายเป็นอัตโนมัติ, ไม่นาน การหัวเราะตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นเองและเกิดง่ายขึ้นๆในชีวิตประจำวัน.
หัวเราะทำให้คนหัวเราะ มีจิตสำนึกโล่งเบา
จนหัวเราะขำตัวเองได้ และเบิกบานใจจริงๆในที่สุด
เมื่ออารมณ์อื่นๆถูกปลดปล่อยออกมาแล้ว. นี่เป็นจุดหมายปลายทาง
เป็นยาวิเศษที่ต้องฝึกด้วย
เพราะต้องมีความกล้าพอที่จะปลดปล่อยเรื่องไม่พอใจต่างๆทิ้งไป. หัวเราะได้
หัวเราะจริง ด้วยใจปลอดโปร่งโล่งเบา ไม่ใช่หัวเราะหลอกตัวเองเมื่อใจยังหมกมุ่นกับสถานการณ์ที่ย่ำแย่ในชีวิตจริง.
หัวเราะเพื่อเลือกทางออกที่แจ่มใสกว่า มองข้ามความทุกข์ไปยังความสุขของการมีชีวิต และตั้งใจปลูกฝังอารมณ์เชิงบวกให้มากที่สุด.
หัวเราะเท่ากับการผลักตัวเองไปบนทางแห่งความสุข นึกถึงความสุขที่อยู่ข้างหน้า
อาจเอื้อให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิต. เช่นนี้
เรียนที่จะหัวเราะกับสิ่งรบกวนไม่สบอารมณ์เล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวันและไม่ติดใจกับมันอีกต่อไป
ช่วยให้จิตสงบมีสติมากขึ้นเมื่อเผชิญเหตุการณ์เลวร้ายรุนแรงกว่า. หัวเราะคือพาตัวเองห่างออกมาจากศูนย์กลางของพายุความรู้สึกรุนแรง
ช่วยให้เราหนีออกมาได้. ขยายและปรับเปลี่ยนจิตสำนึกด้วยการหัวเราะ เท่ากับฉุดตัวเองออกจากความคิดหมกมุ่นที่ไม่เป็นประโยชน์
จะทำให้ตอบสนองหรือตอบโต้กับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ดีกว่า.
การหัวเราะเหมือนเครื่องเร่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในความสุขเบิกบานใจ.
คลับหัวเราะต่างๆต้องการกระตุ้นให้คนหัวเราะมากขึ้นๆ ให้มันเป็นเหมือนยาวิเศษที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ.
โยคะหัวเราะได้เป็นหัวข้อข่าวไปทั่วโลก (ในหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์
: Le Time Magazine, le National Geographic, le Wall Street Journal et CNN
aux Etats-Unis, le Daily Telegraph et la BBC au Royaume-Uni, Le monde, Le
point, TF1, France 2 en France). เป็นคลับที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองหรือการทำเงิน
ปกติผู้บริหารเป็นอาสาสมัครที่ได้รับการฝึกอบรมด้านนี้มา
แล้วเผยแพร่ขยายออกไปตามโรงเรียน บริษัท โรงพยาบาลและเรือนจำ. เมื่อแรกเริ่มต้นที่เมืองมุมไบในอินเดีย
มีสมาชิกเพียงหยิบมือ ปัจจุบันกลายเป็นปรากฏการณ์โลก.
เดี๋ยวนี้มีคลับส่งเสริมพัฒนาหัวเราะไปทั่วโลก มากกว่า 5000 แห่ง.
Stan
Laurel and Oliver Hardy (เครดิตภาพ : irishmirror.ie)
The
Marx Brother (เครดิตภาพ : The New Yorker)
กรณีที่น่าสนใจ ชวนให้คิด คือ Norman
Cousins [นอเมิน คัสเซิ่น] (1915-1990, นักเขียน บรรณาธิการชาวอเมริกัน,
เป็นคนดังคนสำคัญมากคนหนึ่งในสังคมและการเมืองอเมริกันยุคนั้น.
ดูรายละเอียดชีวิตเขาได้อย่างน้อยก็ในวิกิพีเดีย) เมื่ออายุ 49 ป่วยเป็นโรค (ankylosing
spondylitis) ที่ทำให้เขาขยับเขยื้อนร่างกายเกือบไม่ได้เลย. เมื่ออาการถึงขั้นรุนแรง
แม้จะขยับปากพูดก็ทำไม่ได้. หมอวินิจฉัยว่าหมดทางช่วยเหลือแล้ว
เพียงหนึ่งในห้าร้อยคนที่รอดตายจากโรคนี้.
เขาไม่ย่อท้อหรือสิ้นหวัง
กลับหาความรู้เกี่ยวกับโรคและร่างกาย และได้แรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือเกี่ยวกับโยคะหัวเราะในอินเดีย
และตัดสินใจรักษาตัวเองด้วยการหัวเราะ. เขาย้ายออกจากโรงพยาบาล
ไปอยู่ในที่สะดวกสบายในโรงแรม มีเพื่อนที่เป็นหมอ (Dr. William Hitzig) คอยช่วยเหลือดูแลประกบเขาตลอดเวลา.
เขาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต ออกกำลัง กินอาหารดีมีประโยชน์ นอนอย่างเพียงพอ
ดูหนังตลก (Marx Brothers films) หยุดยาแอสพิรินที่โรงพยาบาลให้เขากินแก้ปวด
วันละร่วม ๓๘ เม็ด, หยุดหมกมุ่นกับเรื่องไม่สบอารมณ์ ปัญหาเลวร้ายต่างๆ,
กินวิตามินซีเป็นจำนวนมาก, ฝึกตัวเองตามหลักการ
๑. คิดบวก (มองทุกอย่างในแง่ดี) , ๒. ปฏิบัติตนบวก (หัวเราะ เห็นใจ ร่วมมือ), ๓. สร้างนิสัยบวก
สร้างอารมณ์บวก (ความรัก ความหวัง ศรัทธา ความเชื่อมั่น).
ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นบวก.
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเขา ได้อาศัยวิตามินซี เป็นตัวช่วยฟื้นฟูที่สำคัญที่สุด
เขากินทุกวันๆละจำนวนมาก เกินปริมาณที่การแพทย์รับรอง. ปริมาณมากเช่นนั้น
เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่มันกลับช่วยชีวิตเขาได้. นอกจากนี้ เขาเล่าว่า
ทุกวันหากเขาหัวเราะเอิ้กอ้ากอย่างสบายอกสบายใจเพียงสิบนาที
เขาจะหลับสบายโดยไม่เจ็บปวดเนื้อตัว สองชั่วโมง. เขาใช้หัวเราะบำบัดบรรเทาโรคอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี
ลดความเจ็บปวดตามตัวลงไปเรื่อยๆจนแทบไม่รู้สึกเจ็บเลย. เขายืนยันว่า
ที่เขาหายและมีชีวิตต่อมาได้อีกนานจนถึงอายุ 75 ปีนั้น เพราะได้วิตามินซีช่วย
ควบคู่ไปกับการหัวเราะที่เป็นยาบำรุงจิตใจ.
Norman Cousins ได้แต่งหนังสือเล่าประสบการณ์ของเขา
ชื่อว่า Anatomy of an Illness
ที่กลายเป็นหนังสือขายดีมากในสหรัฐฯ,
การที่เขามีชีวิตรอดและอยู่ต่อมาอย่างมีความสุขจนถึงอายุ 75 ปี เป็นหนามทิ่มแทงใจนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทั่วโลก(เพราะรักษาเขาไม่ได้).
(ยังมีกรณีหัวเราะบำบัดอีกหลายกรณีที่มีนักวิทยาศาสตร์ทำวิเคราะห์วิจัยไว้.
ติดตามไปอ่านได้ด้วยการเช้คเข้าไปตามชื่อนายแพทย์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างต่อไปนี้ : Lee S.Berk &
Stanley Tan, William Fry, Michael Muller, Henri Rubinstein, หรือที่เว็บเพจ laughofflife)
เครดิตภาพ : abvistur.at.ua
ปัจจุบันมีสมาคมคลาวน์ (clown) หรือตัวตลก ที่แทรกเข้าไปทำกิจกรรมเพื่อคนป่วยตามโรงพยาบาล.
ไปชวนคุย เล่าเรื่องตลก ทำท่าหยอกล้อ นำคนป่วยออกจากความเจ็บปวดได้ชั่วคราว ให้ได้ยิ้ม.
เด็กๆหรือคนป่วยหน้าตาแจ่มใสขึ้น ตามด้วยเสียงหัวเราะ เกิดพลังชีวิตใหม่ๆ เบนจิตสำนึกของคนป่วยไปในทางบวก,
ยิ่งเด็กๆ ยิ่งตื่นเต้น. ตัวตลกเหล่านั้น สร้างโลกมหัศจรรย์โลกใหม่ให้คนป่วยได้อย่างง่ายดาย.
Caroline Simonds ผู้สถาปนาสมาคม Rire médecin (แพทย์หัวเราะ) และได้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยฟื้นฟูเด็กผู้ป่วยตามสถานพยาบาลกว่า
45 แห่ง, เล่าว่า ตัวตลกของสมาคม (les Clowns de l’Espoir) ได้รับจดหมายคิดถึง ขอบคุณจากเด็กๆที่ป่วยอยู่โรงพยาบาล และจากพ่อแม่เด็กเป็นจำนวนมาก
ที่ได้ช่วยให้เด็กผู้ป่วยผ่านช่วงวิกฤตทางกายและใจในโรงพยาบาลไปด้วยดี.
ในเมืองไทยก็มีการตั้งกลุ่มโยคะหัวเราะ ด้วยอุดมการณ์ของการ “พลิกประเทศ หยุดฆ่าตัวตาย สลายความเครียด ด้วยเสียงหัวเราะ”.
รุ่นเราย่อมจำยอดดาราอัจฉริยะผู้ทำให้โลกหัวเราะและร้องไห้ได้พร้อมกัน...
Charlie
Chaplin กับเพลง Smile ของเขา
«
You’ll find that life is still worthwhile if you just smile »
ฉากจบในภาพยนต์
Modern Times หนังเงียบเรื่องสุดท้ายปี
1936
เครดิตภาพ
: famousclowns.org
โชติรส รายงาน
๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๒.
No comments:
Post a Comment