นอกจากบาตรเสียงธิเบต
กระดิ่ง ฉิ่ง มีขลุ่ยแบบต่างๆจากหลายชนชาติ
เครดิตภาพ : https://sageacademyofsound.com/training
ในปี 1977 เอ็มมานูเอลล้มป่วยด้วยมะเร็ง
ตั้งแต่วันที่เข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล เขาเอาขลุ่ยไปเป่าด้วยเมื่อมีโอกาส เพื่อลืมและผ่อนคลายความเจ็บปวดของร่างกายหลังเคมีบำบัด.
คนไข้อื่นๆสนใจ ทางโรงพยาบาลขอให้เขาเป่าขลุ่ยให้คนป่วยคนอื่นๆฟังด้วย
ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบกันถ้วนหน้า. เมื่อเขาหายจากมะเร็ง
เขาเริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเสียง ความถี่ชนิดต่างๆ อำนาจของเสียงในแง่มุมต่างๆ.
เมื่ออายุได้สามสิบปี
เอ็มมานูเอล ก๊งต์ ได้สัมผัสบาตรเสียงธิเบตเป็นครั้งแรก
ที่นำเขาให้ตรึกตรองเกี่ยวกับวิทยาการและความชำนาญของคนที่ประดิษฐ์บาตรธิเบตด้วยมือ.
การผสมผสานเนื้อโลหะพิเศษชนิดต่างๆได้อย่างเหมาะเจาะ ทำให้บาตรธิเบต รวมฮาร์โมนิคดีๆของโลกไว้ในบาตรนั้น (คนจึงเรียกบาตรธิเบตว่า
เป็น planetary Tibetan bols). เมื่อถูไปรอบๆขอบบาตร,
ถูไปแบบไหน, ใช้ไม้แบบไหนขนาดใด (bâton)
ไปถูข้างบาตรให้เกิดเสียง, ด้วยแรงมากน้อยเพียงใด, ถูที่ส่วนไหนของบาตร,
บาตรขนาดใดฯลฯ ทั้งหมดสร้างเป็นคลื่นความถี่ต่างๆกันไม่สิ้นสุด.
เครื่องดนตรีประเภทสาย
ฆ้องและบาตรธิเบตขนาดต่างๆ ส้อมเสียง ฉิ่ง ไม้เคาะเสียง
(bâton)
ปลายหุ้มด้วยกำมะหยี่ (หรือขนสัตว์เป็นต้น) ส้อมเสียงขนาดต่างๆที่ต้องเลือกใช้ให้ถูก. เครดิตภาพ
: https://americansoundhealing.com/
เทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้วัดความถี่ระดับต่างๆของบาตรเสียงธิเบตได้.
เอ็มมานูเอล ศึกษาคลื่นความถี่ของบาตรธิเบต แล้วต่อไปถึงความถี่ของส่วนต่างๆของร่างกาย
จนรู้ว่าคลื่นความถี่ขนาดไหนเหมาะกับร่างกายส่วนใดอย่างเฉพาะเจาะจง.
เมื่อใช้คลื่นความถี่ที่สมพงศ์กัน คลื่นนั้นจักช่วยสร้างสมดุลให้ทั้งกายและกระตุ้นร่างกายให้รักษาฟื้นฟูตัวเอง.
ด้วยความรู้ละเอียดเช่นนี้ ตั้งแต่ปี 1988 เอ็มมานูเอล ก๊งต์ เริ่มประพันธ์ดนตรีที่ช่วยผ่อนคลาย ลดความเจ็บปวดและทำให้นอนหลับ.
ตัวอย่างตารางเทียบความถี่กับโน้ตดนตรีและกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย
เครดิตภาพ
: https://www.pinterest.com/pin/452048881347625909/
เว็บนี้เสนอคลื่นความถี่ที่อาจใช้ในเวลาทำสมาธิภาวนา
คลื่นระดับต่างๆ
โดยเชื่อมกับหน้าที่และประสิทธิภาพในการกระตุ้นพฤติกรรมแบบต่างๆ
นอกจากบาตรเสียงธิเบต เอ็มมานูเอล ได้ค้นพบสมบัติของส้อมเสียงและพัฒนาเทคนิคการใช้ส้อมเสียง
(diapason) จนเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องส้อมเสียง. เขาบอกว่าส้อมเสียง(ที่มีขนาดต่างๆ)
สร้างคลื่นความถี่ได้หลากหลายและแม่นยำมากไม่แพ้บาตรเสียงธิเบต ใช้ง่าย สะดวกกว่า และมีประสิทธิภาพสูง.
ส้อมเสียง ราคาก็ไม่แพงสำหรับซื้อไปใช้ส่วนตัวได้.
ส้อมเสียงแบบต่างๆ แต่ละอันมีคลื่นความถี่ต่างกัน มีเป้าหมายในการใช้ต่างกัน
เครดิตภาพ : https://www.medson.net/#prettyPhoto/3/
ระหว่างปี 1994-2008 เอ็มมานูเอลใช้ความชำนาญเรื่องเสียง บำบัดช่วยเหลือคนป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ. เสียงและความถี่ที่เขาใช้ในดนตรีของเขา
ได้ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยให้คนป่วยสงบผ่อนคลายและจนเกิดความอิ่มเอิบใจ.
แผนกต่างๆที่เขาได้ไปช่วย รวมไปถึงห้องผ่าตัด, แผนกศัลยกรรมหลอดเลือด,
แผนกเนื้องอก, แผนกผู้ป่วยที่ต้องดูแลระยะยาว, แผนกล้างไต, อัลไซมเมอร์ จนถึงห้องพักฟื้น
ห้องทำสมาธิและเจริญภาวนา เป็นต้น. เสียงที่ใช้ในการบำบัด ไปกระตุ้นระบบรักษาตัวเองของร่างกาย
(self-healing)
และช่วยปรับสมดุลของสมองซีกซ้ายและขวา. เสียงที่ใช้บำบัดนี้ ไม่ใช่เสียงเพลงตามมาตรฐานดนตรีสากลทั่วไป
แต่เป็นคลื่นเสียง คลื่นความถี่จากส้อมเสียง หรือจากเครื่องดนตรีแบบอื่น.
ประสบการณ์ทั้งหลายในชีวิตจริง
ทำให้ Emmanuel Comte เป็นผู้เชี่ยวชาญในปรัชญาเรื่องเสียง และการบำบัดด้วยการใช้ส้อมเสียง ที่เขาเรียกว่า sonotherapy, เขาใช้ให้เป็นส่วนหนึ่งของดนตรีบำบัด (musicotherapy), และให้เป็นส่วนเสริมการเยียวยารักษาทางการแพทย์. เขาได้จัดตั้งศูนย์วิจัย Espace MedSon [เม็ดซง] แห่งแรกในคานาดาที่เมืองเกเบ๊ค
(Québec). ศูนย์นี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาอิทธิพลของเสียง ความถี่และการสั่นสะเทือน ต่อสุขอนามัยตามหลักการของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์, พัฒนาเสียงบำบัด เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของร่างกาย
เช่น การบำบัดด้วยเสียง, การใช้เสียงนวดตัว, ใช้เสียงคน เสียงสระ, ใช้เสียงเพลงฮาร์โมนิค,
ส้อมเสียง
(diapasons), ใช้บาตรเสียงธิเบต, ใช้เสียงและความถี่
(พลังงานและการสั่นสะเทือน) ที่อาจรวมไปถึงการใช้สีบำบัดและสมุนไพรบำบัดควบคู่ไปด้วย
แล้วแต่กรณี. กระบวนการเสียงบำบัดของเอ็มมานูเอล
ก๊งต์ ไปเสริมเทคนิคบำบัดร่างกายวิถีอื่นๆด้วย เช่น การนวดกระดูก,
เร้อิกิ-reiki
(การรักษาด้วยการใช้กระแสพลังงานภายในของผู้รักษา),
ชีอั๊ดสึ-shiatsu
(หัตถบำบัดชนิดหนึ่งที่ใช้มือกดส่วนต่างๆของร่างกาย),
เสริมการดูแลผู้ป่วยในแผนกพิเศษ
เช่น ออทิสติก (autistic,โรคสมาธิสั้น โรคอัตตาวรณ์), ผู้ป่วยทุพพลภาพ
หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายในระบบการดูแลแบบประคับประคอง. ทั้งหมดเป็นเทคนิคของเสียงบำบัด นำไปใช้และทำเองส่วนตัวได้หรือในหมู่ผู้ใกล้ชิด.
เขายังจัดคอร์ส สอนและฝึกผู้สนใจ
ที่อาจนำไปใช้สำหรับตัวเองและหรือถ่ายทอดต่อไปเพื่อช่วยคนอื่นๆ. (Endnote 2)
นอกจากนิทานนักเป่าขลุ่ยเมืองฮ้าเมลในยุคกลางที่ประเทศเยอรมนี,
ในอดีตอันไกลโพ้น ยังมีตำนานเกี่ยวกับเครื่องดนตรีและปาฏิหาริย์จากดนตรี
เล่าสืบทอดกันมาจากลัทธิความเชื่อและวัฒนธรรมโบราณ เช่น ในตำนานกรีกเรื่อง Amphion เทพลูกชายของ Zeus กับ Antiope ที่มีคู่แฝดชื่อ Zethus. ทั้งสองมีชื่อเสียงรู้จักกล่าวขานถึง ว่าเป็นผู้สร้างเมือง
Thebes ที่เป็นศูนย์กลางสำคัญของกรีซ
(เมืองนี้เป็นบ่อเกิดตำนานในเทพปกรณัมกรีกอีกหลายเรื่อง). Amphion ใช้เสียงพิณ (lyre) ปลุกเสกให้หินไปวางต่อเรียงกันเป็นกำแพงเมือง.
ในคัมภีร์เก่า (เล่ม Joshua 6:1-27) เล่าตำนานเรื่อง แตรแห่งเจริโก (Trumpets of
Jericho. Jericho ตั้งอยู่ในหุบเขาจอร์แดน Jordan River
Valley ในรัฐปาเลสไตน์ปัจจุบัน
มีเมืองเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง)
สืบทอดมาอย่างน่าสนใจว่า ประมาณ 1400 BC, เมื่อโมเสสตาย Joshua ขึ้นเป็นผู้นำชาวอิสราเอล มุ่งหน้าไปยังแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ยาเวพระเจ้าได้สัญญาไว้ (the Promised
Land). เมื่อไปถึงเมืองเจริโกของฝ่ายศัตรู
(Canaan)
ต้องทำศึกชิงเมือง.
Joshua
เห็นเมืองมีกำแพงหินหนาสูงราวสี่เมตรล้อมรอบ. ยาเวมาบอกให้เขานำกองทหารเดินแห่ “เครื่องสูง-The Ark of the
Covenant” (สัญลักษณ์ของพันธสัญญาที่ยาเวให้กับชาวอิสราเอล) มีขบวนนักบวชเป่าแตร นำเดินไปรอบเมือง วันละรอบตลอดหกวัน
และเจ็ดรอบในวันที่เจ็ด. เขาทำตาม วันที่เจ็ด กำแพงเมืองพังทลายลง. มีระบุด้วยว่า
มวลหินของกำแพงถล่มออกมากองนอกเมือง (มิได้ถล่มเข้าไปในเขตเมือง)
จึงเป็นเหมือนบันไดให้กองทหารอิสราเอลปีนเข้าไปพิชิตเมืองได้ในที่สุด.
สงครามเมืองเจริโก เป็นเรื่องโด่งดังมากในประวัติศาสตร์ศาสนา และเป็นเนื้อหาของจิตรกรรมประวัติศาสตร์ด้วย.
เชื่อกันว่า Canaan คือดินแดนศักดิ์สิทธิ์ตามที่ยาเวพระเจ้าได้สัญญาไว้.
ปัจจุบันคือแดนปาเลสไตน์. (ref. Battle of Jericho, Wikipedia).
The Battle of
Jericho ผลงานของ Julius
Schnorr von Carolsfeld (1794-
1872 ชาวเยอรมัน),
เครดิตภาพ : Commons.wikimedia.org [Public domain]
วิทยาศาสตร์สอนมาชัดเจนแล้วว่า
ทุกอย่างคือความถี่ คือการสั่นสะเทือน เช่นสะพานที่ตาคนเห็นว่ามันนิ่งอยู่กับที่
ในความเป็นจริง โมเลกุลของวัสดุก่อสร้างทั้งหมด สั่นสะเทือนเคลื่อนที่ตลอดเวลา.
เมื่อใช้สะพานตามปกติ ความถี่ของสิ่งที่ข้ามสะพาน
มิได้สูงกว่าความถี่ภายในโครงสร้างของสะพาน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น.
หากมีสิ่งไปกระทบรุนแรงติดต่อกันนาน ย่อมทำให้การสั่นสะเทือนภายในสะพานเปลี่ยนแปลง
และเมื่อเกินขีดจำกัดของความถี่ภายในโครงสร้างของสะพาน สะพานก็พังลงได้
ทั้งหมดด้วยอานุภาพของเสียงหรือคลื่นความถี่ของเสียงนั่นเอง. กำแพงล้อมเมืองเจริโก
ที่ Joshua
นำกองทหารทั้งหมดไปเดินเป็นขบวนประชิดติดด้านนอกกำแพง
ติดต่อกันเป็นเวลาเจ็ดวัน อีกทั้งให้เป่าแตรตลอดเวลาขณะเดินทัพไปนั้น
ทำให้เกิดการสะท้อนเป็นเสียงก้อง (mechanical resonance) ต่อเนื่อง ปะทะกับความถี่ภายในโครงสร้างของกำแพงนั้น.
การปะทะแบบคลื่นตัดคลื่น อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเจ็ดวัน กำแพงถล่มลงในที่สุด. (ข้อมูลจากการสำรวจทางโบราณคดี
พบว่าบริเวณนั้นมีร่องรอยของแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง.
ตำนานดังกล่าวสำหรับคนทั่วไป จึงโยงให้คิดว่า มันเกิดจากแผ่นดินไหว)
ประเด็นสำคัญจากตำนานสองเรื่องดังกล่าว
คืออิทธิพลของเสียงที่เคลื่อนหินก้อนใหญ่ๆได้.ตำนานแม้จะเป็นเรื่องเล่าฟังเพลินๆ
แต่ทำไมคนยุคโน้น จึงมีจินตนาการไปไกลถึงเพียงนั้น
ทั้งๆที่ไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ศึกษาวิเคราะห์ความถี่เสียงในยุคโบราณนั้น (หรือมีแต่คนยังไม่พบหลักฐาน).
โบราณสถานที่ยังมีซากเหลือให้เห็นในโลก นอกจากปิรามิดอีจิปต์, หินตั้งจำหลักรูปคนบนเกาะ Easter Island นอกฝั่งประเทศชิลีในมหาสมุทรแปซิฟิก, และที่สนใจกันเป็นพิเศษ
คือเมือง Baalbek ประเทศเลบานอน ในทวีปอเมริกาใต้. หินก้อนใหญ่ที่สุดในหมู่ซากสถาปัตยกรรมวิหารและเมือง
Baalbek มีน้ำหนักมากกว่าพันตัน. เขาเคลื่อนมาได้อย่างไรจากแหล่งหินแม้จะอยู่ในบริเวณใกล้เคียง.
นักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์หลายแขนงในยุคปัจจุบัน
สร้างสมมุติฐานใหม่ว่า เสียงอาจเป็นตัวกลาง
เป็นกุญแจ ที่ทำให้การเคลื่อนย้ายหินก้อนมหึมาเหล่านั้นได้ (อย่างไรนั้น ผู้สนใจต้องตามหาความรู้ต่อไปเองในเน็ต).
ติดตามดูภาพรายละเอียดเมืองบัลเบ็คได้จากเว็บเพจนี้.
ดูขนาดของคนที่ขึ้นไปนั่งบนบล็อกหินก้อนใหญ่ที่สุดที่เมือง Baalbek
ในเลบานอน.
เครดิตภาพ : http://www.pacal.de/baalbek_en.htm
เครดิตภาพ : https://www.livius.org/pictures/lebanon/baalbek-heliopolis
ย้อนกลับไปถึงเรื่องขลุ่ยจุดเริ่มต้นของบทความนี้.
ขลุ่ยน่าจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า (wind instruments) แบบแรกของมนุษยชาติ ค้นพบได้ง่ายในธรรมชาติ
แค่เอาปล้องไม้กลวงๆมาเป่าเล่น ก็เข้าใจว่า มันทำให้เกิดเสียง, และเมื่อเล่นกับปล้องกลวงๆแบบต่างๆ
เรียนรู้จักมันมากขึ้นๆ ทักษะที่เพิ่มขึ้น ทำให้เจาะจงโน้ตเสียงแตกต่างออกไปเรื่อยๆ.
มาคิดๆดู เสียงขลุ่ยคือเสียงลมปราณของคนที่ตรงออกจากร่างคน ผ่านขลุ่ยออกมาสู่ลมปราณของโลก.
นักดนตรีประเภทเป่านั้น ต้องมีแรงปอด แรงลมภายในดีมาก และควบคุมแรงนั้นได้อย่างวิเศษด้วย.
นึกถึงขลุ่ยของพระกฤษณะในขนบฮินดู
เสียงขลุ่ยของพระกฤษณะ นำคน สัตว์ นก มาชุมนุมกันอย่างสงบ ลืมความเป็นศัตรู ลืมว่าเคยเป็นคู่แค้นคู่แข่งไปเสียสิ้น.
สุนทรภู่ได้แรงบันดาลใจจากขนบฮินดูหรือไฉน? แต่ นวพล กัลยา
เทียบให้เห็น โดยเฉพาะตอนพระอภัยมณีเป่าปี่หยุดทัพของนางละเวง เหมือนเพลงปี่ห้ามทัพของ เตียวเหลียง ในวรรณกรรมจีนเรื่อง ไซฮั่น (Endnote
3).
เสียงปี่ในทั้งสองกรณีทำให้ทหารฝ่ายศัตรูเกิดความเบื่อหน่าย คิดถึงบ้านและครอบครัว
ทิ้งอาวุธไม่ไยดีกับการเอาชนะศัตรู.
ชาวอินเดียนแดง มีเทพเจ้า Kokopelli ที่เป็นนักเป่าขลุ่ย, เทพ Pan ในตำนานกรีก มีขลุ่ยติดตัวเป็นประจำ (panpipes), ในลัทธิ soufism ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีสำคัญควบคู่กับกลอง (ขลุ่ยคือลมปราณ และกลองคือการเต้นของหัวใจ) ที่ใช้ประกอบการรำการหมุนตัวของเหล่า dervish ที่หมุนเหมือนเกลียวเข้าในวงโคจรสู่พระเจ้าเบื้องบน, ชาวญี่ปุ่นมีขลุ่ยไม้ไผ่ (shakuhachi), ปัญญาชนชาวจีนส่วนใหญ่เป่าขลุ่ยเป็น พกติดตัวเหมือนอาวุธชนิดหนึ่ง, ปี่สก็อต (bagpipes) เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติของสก็อตแลนด์, ขลุ่ยในหมู่คนเลี้ยงแกะ ก็มีเล่าแทรกไว้เสมอในวัฒนธรรมพื้นบ้านหลายชาติ เพราะเชื่อกันว่า เสียงขลุ่ยช่วยให้ฝูงแกะ(และคน)สงบผ่อนคลาย. ฝูงวัวในทุ่งสวิตฯก็ชอบไปล้อมฟังคนเป่าขลุ่ยหรือเล่นไวโอลิน. ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นพยานถาวรว่า ดนตรีที่แทรกอยู่ในขนบประเพณีตั้งแต่โบราณกาลมา มิใช่เป็นเรื่องบังเอิญ แต่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของการมีตัวตนของแต่ละชนเผ่า ทั่วไปบนทุกทวีป. ผู้นำไม่ว่าในลัทธิความเชื่อใด ปลูกฝัง เสริมสร้างและพัฒนาจิตวิญญาณ (spirituality) โดยมีดนตรีเป็นตัวช่วยเสมอ.
ชาวอินเดียนแดง มีเทพเจ้า Kokopelli ที่เป็นนักเป่าขลุ่ย, เทพ Pan ในตำนานกรีก มีขลุ่ยติดตัวเป็นประจำ (panpipes), ในลัทธิ soufism ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีสำคัญควบคู่กับกลอง (ขลุ่ยคือลมปราณ และกลองคือการเต้นของหัวใจ) ที่ใช้ประกอบการรำการหมุนตัวของเหล่า dervish ที่หมุนเหมือนเกลียวเข้าในวงโคจรสู่พระเจ้าเบื้องบน, ชาวญี่ปุ่นมีขลุ่ยไม้ไผ่ (shakuhachi), ปัญญาชนชาวจีนส่วนใหญ่เป่าขลุ่ยเป็น พกติดตัวเหมือนอาวุธชนิดหนึ่ง, ปี่สก็อต (bagpipes) เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติของสก็อตแลนด์, ขลุ่ยในหมู่คนเลี้ยงแกะ ก็มีเล่าแทรกไว้เสมอในวัฒนธรรมพื้นบ้านหลายชาติ เพราะเชื่อกันว่า เสียงขลุ่ยช่วยให้ฝูงแกะ(และคน)สงบผ่อนคลาย. ฝูงวัวในทุ่งสวิตฯก็ชอบไปล้อมฟังคนเป่าขลุ่ยหรือเล่นไวโอลิน. ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นพยานถาวรว่า ดนตรีที่แทรกอยู่ในขนบประเพณีตั้งแต่โบราณกาลมา มิใช่เป็นเรื่องบังเอิญ แต่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของการมีตัวตนของแต่ละชนเผ่า ทั่วไปบนทุกทวีป. ผู้นำไม่ว่าในลัทธิความเชื่อใด ปลูกฝัง เสริมสร้างและพัฒนาจิตวิญญาณ (spirituality) โดยมีดนตรีเป็นตัวช่วยเสมอ.
นอกจากขลุ่ย แน่นอนยังมีเครื่องดนตรีประเภทอื่นๆ
ที่มีอิทธิพลต่อคนเช่นเดียวกัน. ในตำนานกรีกเรื่อง Orpheus ผู้ดีดพิณ (lyre) ได้ไพเราะเสนาะหู
ทำให้ทั้งสัตว์ นางไม้และทวยเทพอ่อนไหวไปสิ้น จนยอมบอกทางให้เขาลงไปใต้บาดาลไปตามหาคนรัก
Eurydice
ที่ถูกงูกัดตาย ด้วยความหวังจะขอเจ้าแห่งบาดาลให้เขาพานางกลับคืนสู่โลกภาคพื้น. ในคัมภีร์เก่า เล่าถึงกษัตริย์เดวิด(บรรพบุรุษของพระเยซูผู้หนึ่ง)
ผู้ชำนาญการดีดพิณ (lyre) เสียงพิณของเขามีอานุภาพเดียวกับเสียงขลุ่ยของพระกฤษณะ
ได้สลายความคลุ้มคลั่งของกษัตริย์ Saul (เล่าไว้ในคัมภีร์เก่าเล่ม
Samuel. เดวิดต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของอิสราเอล
เขาเป็นพ่อของโซโลมอน, เรื่องราวนี้อยู่ในราวศตวรรษที่ 10 BC). ภาพกษัตริย์เดวิดในคริสต์ศิลป์
มือถือเครื่องดนตรีแบบพิณ.
พิณฝรั่ง (harp) ที่วิวัฒน์พัฒนามาจากคำดั้งเดิมกรีก ว่า psaltērion เมื่อแกะรอยไปถึงต้นศัพท์
พบนัยของ ลมหายใจ (คำนี้แตกเป็นคำศัพท์ตัวอื่นเช่น
psalm
E./psaume Fr. ที่ใช้ในความหมายของเพลงสวด
หรือคำ pneumo ที่หมายถึงอากาศ,
แก๊ส, ปอด). ออร์แกน (ทำให้นึกถึงท่อลมขนาดสูงๆต่ำๆจำนวนมากที่ประกอบกันเป็นออร์แกน). จะเห็นว่า เครื่องดนตรีทั้ง harp และ organ มีอะไรเกี่ยวกับลม, ลมหายใจ, ลมปราณ. โดยปริยาย จึงอาจสรุปว่าระบบการออกเสียง
กระบอกเสียงของคนผ่านช่องเส้นเสียง (glottis) ก็คือเครื่องดนตรีในตัวคน ที่เลิศประเสริฐที่สุด และหากรู้จักใช้
จักเป็นเครื่องปรับพลังงานความสมดุลภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี.
การวิจัยในยุคปัจจุบัน
ยังบอกให้รู้ว่า เสียงสวดทำนองเกรกอเรียน-gregorian ในวัดคริสต์นั้น จังหวะจะโคลนของเพลงสวด ตรงกับจังหวะการเต้นของหัวใจคนปกติ
และมีส่วนไปกระตุ้นเนอรอนสมอง(cortical) นำสมาธิให้อยู่กับปัจจุบันขณะ, เอื้อให้เคลิ้มไปในความปิติ
(ต่อพระเจ้าเบื้องบน) ได้ง่ายกว่า. (ref. Dr. Alfred A. Tomatis เจ้าของทฤษฎีการฟังการได้ยินที่รู้จักในนามว่า
Audio-Psycho-Phonology). งานวิจัยยืนยันว่า วิธีการร้องเพลง
จังหวะดนตรี หากสอดคล้องกับจังหวะการหายใจและการเต้นของหัวใจ
ทำให้ร่างกายผ่อนคลายได้แน่นอน, ทั้งยังช่วยส่งจิตขึ้นสู่มิติสูงๆ
เมื่อเสียงดนตรีภายในสอดคล้องกับความถี่ของจักรวาล และนำไปสัมผัสความปิติ(ของศรัทธาเป็นต้น).
ในทำนองเดียวกันนี้ มันตระในยชุรเวทของของศาสนาฮินดู ที่เคยเป็นและยังคงเป็นตัวกลางที่เราเรียกว่า โยคะของเสียง เชื่อมพราหมณ์ในพิธีกรรมศาสนา หลอมจิตวิญญาณของพราหมรณ์ และทำให้เคลิ้มจนเหมือนถูกสะกดจิตอย่างสิ้นเชิง หรือเหมือนวิญญาณออกจากร่างไป จึงไม่รู้สึกรู้สมกับความเจ็บปวดใดๆ. เสียงสวดมนต์เป็นที่ปลดปล่อยกายหยาบบนพื้นดิน เพื่อก้าวไปกับกายทิพย์ของจิตวิญญาณ.
ในทำนองเดียวกันนี้ มันตระในยชุรเวทของของศาสนาฮินดู ที่เคยเป็นและยังคงเป็นตัวกลางที่เราเรียกว่า โยคะของเสียง เชื่อมพราหมณ์ในพิธีกรรมศาสนา หลอมจิตวิญญาณของพราหมรณ์ และทำให้เคลิ้มจนเหมือนถูกสะกดจิตอย่างสิ้นเชิง หรือเหมือนวิญญาณออกจากร่างไป จึงไม่รู้สึกรู้สมกับความเจ็บปวดใดๆ. เสียงสวดมนต์เป็นที่ปลดปล่อยกายหยาบบนพื้นดิน เพื่อก้าวไปกับกายทิพย์ของจิตวิญญาณ.
เสียงคนเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง
เราจึงควรเรียนให้รู้วิธีใช้เสียงของตัวเอง ให้เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ,
ให้เป็นเครื่องมือในการเจริญภาวนาได้. การขับร้อง
คือการสั่นสะเทือนของส้อมเสียงภายในของตัวคน. การออกเสียงเช่นกลุ่มเสียงสระหลัง โอ
อา อู ด้วยความถี่ต่ำๆ
ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย. การสวดมนตร์ทำวัตรเช้าเย็นของพระภิกษุสงฆ์
เสียงสวดทุ้มต่ำสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อการหมุนเวียนของลมปราณในร่างกาย
ไม่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนเป็นต้น (ref. ติดตามไปอ่านงานวิจัยของ
ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี, อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล).
เสียงยังมีผลต่อพืชพรรณและสัตว์ (music protein หรือ DNA music. Ref. Joël Sternheimer. อ่านสรุปการวิจัยเรื่องนี้ในเรื่อง ดนตรีโปรตีน ได้ในบล็อกนี้ >> https://blogchotiros.blogspot.com/2019/06/the-sound-of-molecules.html
)
เป็นที่รู้และยอมรับกันมาว่า ปีทากอรัส เป็นผู้ค้นพบดนตรี (Pythagoras, c.570-c.495 BC. ปราชญ์ชาวกรีก). เขาพูดถึง ดนตรีของจักรวาลและดนตรีของตัวเลข
มากเป็นพิเศษ. เขาคงเป็นหนึ่งในคนแรกๆที่เข้าใจว่า
ดนตรีคือเลขคณิตที่มีเสียง และเลขคณิตคือดนตรีเงียบ.
(cf. There is geometry in the humming of the strings,
there is music in the spacing of the spheres. มีแบบเรขาคณิตในเสียงฮัมของสายพิณ
มีดนตรีในพื้นที่ห่างระหว่างดวงดาว. Pythagoras). เขาตระหนักรู้ก่อนผู้ใดในยุคก่อนคริสตกาลนั้นว่า
เสียงมีอิทธิพลต่อร่างกายและจิตใจของคน. ปีทากอรัสจึงเป็นผู้ปูและนำทางนักวิจัยรุ่นต่อๆมา
เช่นในสมัยปัจจุบัน Dr. Alfred A. Tomatis หรือเอ็มมานูเอล
ก๊งต์ไปบนเส้นทางเดียวกัน.
เมื่อพิจารณาเรื่องเสียงจากมุมมองของอารยธรรมของชนชาติต่างๆตั้งแต่โบราณกาลมา
ทำให้สรุปสมบัติของดนตรี(เสียงและความถี่) ว่า นอกจากเชื่อมโยงกับโลกของศรัทธา
ของจิตวิญญาณแล้ว ยังมีสมบัติเป็นสิ่งบรรเทาเยียวยาคนทั้งกายและใจด้วย และนี่ยืนยันข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกันว่า
ทุกอย่างเป็นคลื่น เป็นการสั่นสะเทือน, คนคือคลื่น คือการสั่นสะเทือน,
คนจึงเป็นดนตรีแบบหนึ่งของจักรวาล. เมื่อเป็นเช่นนี้ การแพทย์จักต้องขยายกรอบออกไปให้กว้างมากขึ้นอีก
และต้องรวมศาสตร์ของดนตรี ของเสียงทั้งเสียงอุลตราซาวน์และเสียงอินฟราซาวน์
เข้าไปเสริมในการรักษาเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บด้วย. (ดูตัวอย่างการใช้อุลตราซาวน์รักษาโรค
ใน endnote
no.12)
เสียง การสั่นสะเทือน ความถี่
ดนตรีที่เรากล่าวมา มีผลดีต่อคน(สัตว์และพืชด้วย) แต่เสียงก็ทำลายสุขภาพได้เช่นกัน.
ตัวอย่างง่ายๆ หากฟังดนตรีโมสาร์ทด้วยความดัง 140 เดสิเบล ดนตรีโมสาร์ท กลายเป็นพิษไปทันที. เอ็มมานูเอล เน้นบ่อยๆว่า เสียงมีอำนาจสร้างความบรรสาน (harmony, ร.บ.) แก่ร่างกาย
และก็มีอำนาจทำลายร่างกายด้วย. หูคนมีสมรรถภาพการฟังการได้ยินจำกัด
ประสาทสัมผัสอื่นๆก็มีความจำกัด เช่นจับอะไรที่ร้อนเกินไป ก็ไหม้มือได้.
เรื่องหูนี้ คนไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร. อาหารที่เรากิน ต้องผ่านการย่อยก่อน
มีอวัยวะกระเพาะ ลำไส้ ตับ ไตช่วยขจัดแยกแยะสิ่งดีสิ่งไม่ดีออก, แต่เสียงที่เข้าหู
ไม่ผ่านกระบวนการคัดกรองใดๆ มันถึงสมองทันที เป็นคลื่นไฟฟ้าที่กระจายไปในทุกโซนของสมอง.
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อีกด้านหนึ่ง บอกให้รู้ว่า
ร่างกายเรา ผิวหนังของเรา รับรู้เสียงได้ด้วย นั่นคือรับการสั่นสะเทือนของเสียงได้. เช่นนี้
คนหูหนวกรับรู้เสียงได้ (ref. Evelyn Glenny ในเชิงอรรถหมายเลข 10) และคนตาบอดสี ก็รับรู้สีได้จากคลื่นเสียง (ref. Neil
Harbisson ในเชิงอรรถหมายเลข 11). ทั้งหมดนี้บนฐานความจริงที่พิสูจน์กันแล้วว่า ทุกอย่างคือคลื่น
คือความถี่ คือการสั่นสะเทือน คือพลังงาน.
การเสพเสียง คลื่น ความถี่ชนิดต่างๆ
จึงต้องระวังเป็นพิเศษ
และถูกยกระดับขึ้นเป็นหัวข้อวิเคราะห์วิจัยอย่างเร่งด่วนในสังคมยุคปัจจุบัน ที่มีมลพิษทางเสียงมาก
สภาพแวดล้อมในเมือง เสียงรถ เสียงโฆษณาในร้านค้า หรือตามถนน เสียงคนพูดที่ดังขึ้นๆทั้งๆยืนติดกัน.
คนอยู่กับเสียงที่ทำร้ายร่างกายไปเรื่อยๆทุกๆวัน. ปัจจุบันคนป่วยเพราะเสียง มีจำนวนมากขึ้น
คนหูตึงก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ ยังไม่นับกรณีคนที่ได้ยินเสียงอื้อในหูตลอดเวลา (Tinnitus / Acouphène) ที่ไม่ใช่เสียงจากภายนอกร่างกาย
หรือจากภายใน เป็นเสียงที่ไม่มีต้นตอ (งานวิจัยเรื่องนี้ยังไม่สิ้นสุด). การได้ยินเสียงอื้อ(ไม่ว่าเสียงแบบใดตลอดเวลานั้น)
ทำลายระบบประสาทอย่างยิ่ง. คนที่มีเสียงอื้อในหูตลอดเวลา หากแก้ไม่ได้
ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนนั้น และนำไปสู่การเป็นคนหูหนวกได้ในที่สุด. คนที่ชอบฟังดนตรีโดยใส่หูฟัง
นานๆเข้าก็เป็นอันตรายต่อหูเช่นกัน. เพราะเสียงทำร้ายคนได้ เสียงจึงเป็นอาวุธแบบหนึ่ง.
สหรัฐฯ(และประเทศอื่นๆด้วย) ใช้เสียงความถี่ความดังที่เกินขีดปกติของหูคน เช่นดนตรีประเภท
Speed
Metal ที่สหรัฐฯนำไปใช้เป็นเครื่องมือทรมานนักโทษหรือผู้ต้องขังโดยเปิดให้ดังขึ้นๆ.
ดนตรีในที่สุดเป็นอาวุธฆ่าคนได้ไม่ยากเลย.
ดนตรีมีจังหวะ
ทำให้เกิดเสียงก้อง หากสอดคล้องกับจังหวะชีวิตภายในของร่างกายคน (หรือสิ่งมีชีวิตแบบอื่นใด)
ย่อมเสริมสุขภาพของคน. โบราณจึงพูดว่า จังหวะคือชีวิต. หากจังหวะจากภายนอก ไปต้านจังหวะชีวิตภายในของระบบการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ
ย่อมเกิดความตึงเครียดขึ้น และเสียสมดุล.
ยังมีดนตรีที่เป็นเพลงขับร้อง
เนื้อเพลงถือเป็นส่วนเสริมดนตรี หรือดนตรีไปเสริมเนื้อหาที่ต้องการสื่อ. เนื้อหาของเพลงมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ
หากบันทึกความโหยหา ความคับอกคับใจไว้ ก็ไม่เสริมสร้างอารมณ์เชิงบวกแก่ผู้ฟัง คน “เปราะบาง”
บางคน ฟังแล้วอาจจิตตก. การเลือกสรรดนตรีประกอบภาพยนต์ ก็เช่นกัน เอ็มมานูเอลยกตัวอย่างในภาพยนต์เรื่อง
Apocalypse Now ในฉากทหารอเมริกัน ถล่มเมืองในเวียดนาม ใช้ดนตรีของวากเนอร์ (Wagner, la
chevauchée de Walkyrie) ประกอบฉาก ที่แน่นอนโยงไปเปรียบกับม้าสี่ตัวในคัมภีร์อโปกาลิปส์ของเซ็นต์จอห์น.
ม้าสี่ตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของความตาย, ความอดอยาก, สงครามและการยึดครอง ที่คือเป้าหมายของกองทัพอเมริกันในเวียตนาม
(ในอิรัคก็เช่นกัน). ต้องชมผู้กำกับภาพยนต์และแผนกเสียง
ที่สร้าง sound effect ได้อย่างยอดเยี่ยม จนเหมือนกับว่า เป็นการโจมตีด้วยเสียงดนตรี. ดูฉากนี้ในคลิปนี้
>>
https://www.youtube.com/watch?v=AfNHs1P0jHQ
นอกจากมลภาวะเสียงในเมือง เครื่องกลหรือเครื่องไฟฟ้าสารพัดชนิด
โทรศัพท์ที่คนใช้ในชีวิตส่วนตัวประจำวันหรือในที่ทำงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมฯลฯ รุกเร้ารบกวนเราทุกเวลานาทีทั้งยามตื่นยามหลับ.
หูได้ยินเสียงตลอดเวลา เราจะสนใจฟังหรือไม่ก็ตาม. ความคุ้นชินทำให้เราทนมา แต่ผลจากมลพิษเสียง
ยังอยู่ในประสาทของเรา (cf. psychoacoustics) มิได้หายไป. น่าสงสารร่างกายของเรา
ที่กำลังพยายามธำรงความสมดุลให้เราอย่างสุดความสามารถ. เมื่อความสมดุลบกพร่องไป ในที่สุดเราก็ป่วยแน่นอน.
หากระบบภูมิคุ้มกันถูกกระทบกระเทือนจากเหตุปัจจัยใดก็ตาม ใครจะไปรู้ว่า มลพิษเสียง
อาจมีส่วนทำให้มะเร็งฟักตัวก็เป็นได้ หรือในทางกลับกัน ความถี่เฉพาะแบบหนึ่ง ที่ไปกระตุ้นอวัยวะหนึ่งที่มีเซลล์มะเร็ง อาจสลายเซลล์มะเร็งได้ เหมือนที่ Joshua ใช้ความถี่ต่อเนื่องกัน ทำให้กำแพงเมืองถล่มลงตามตำนานที่เล่าไว้ข้างบน (พบวันนี้ที่ 29 February 2020 โดยบังเอิญ คลิปที่เสนองานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ เข้าไปฟังได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=1w0_kazbb_U : Shattering cancer with resonant frequencies : Anthony
Holland at TEDxSkidmoreCollege, Dec 23, 2013). การใช้คลื่นความถี่ให้เป็นยา แก้ปัญหาโรคได้ผลมาแล้ว เช่นโรคอัลไซเมอร์หรือมะเร็ง.
วงการเสียงบำบัดพยายามรณรงค์หาทุนเพื่อขยายวงงานวิจัยให้กว้างมากขึ้นๆทั้งในสหรัฐฯและในโลก
ดังพันธกิจของสมาคม Focused
Ultrasound Foundation, Charlottesville, Virginia, USA.
คนกำลังสูญเสียสมรรถนะในการได้ยินและการฟัง. เราจึงต้องเลือกเสพเสียง ให้ความสำคัญเท่าๆกับการเลือกกินอาหาร.
การรู้จักเลือกเสพเสียง ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของความเงียบ. ในดนตรี การหยุด
(pause)
คือความเงียบที่แทรกเข้าไปในดนตรี
เหมือนให้ดนตรีมีเวลาหายใจ ในแง่นี้กระมังที่บางคนพูดว่า ความเงียบประกอบกันเป็นเสียงดนตรี.
Gustav
Mahler (1860-1911, นักประพันธ์ดนตรีชาวเยอรมัน) บอกว่า ความเงียบประดับตกแต่งดนตรี. Miles D.Davis (1926-1991, นักประพันธ์ดนตรี jazz, หัวหน้าวงดนตรีและนักเป่าทรัมเป็ตชาวอเมริกัน) อธิบายว่า ดนตรีที่แท้จริงคือความเงียบ และโน้ตทุกตัวคือกรอบของความเงียบนั้น.
อ่านวิธีการปกป้องตัวเองจากมลพิษเสียง
และข้อมูลอื่นๆต่อได้ในบล็อกนี้
กระบวนการเสียงบำบัดตามแนวทางของเอ็มมานูเอล
ก๊งต์ น่าสนใจ. น่าจะมีศูนย์บำบัดแบบเดียวกันในสังคมไทย
โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ. น่าจะมีศูนย์สอนการฟัง การฝึกหูให้รู้จักฟังเสียงในธรรมชาติ
และรู้จักเจาะจงเสียงที่ได้ยินว่าคืออะไร. นึกถึงความสามารถของคนชาวป่าชาวดอย ที่มีหูดีมาก หรือชาวอินเดียนแดงที่เอาหูแนบพื้น
ก็บอกได้ว่า มีใครหรือมีอะไรเกิดขึ้นในพื้นที่ไกลออกไปที่ตามองไม่ถึงหรือไม่เห็น.
น่าเสียดายว่า ธรรมชาติสร้างหูให้คนมาอย่างดีเลิศและประณีตยิ่งนัก แต่คนกลับทำลายของขวัญล้ำค่านั้นเสียเอง.
ย้ำกันอีกว่า ทุกอย่างคือคลื่น
คือความถี่ คือการสั่นสะเทือน คือพลังงาน. มองให้เห็นและใช้สมบัติเหล่านี้ให้เป็น
คนนั้นเป็นเจ้าครองโลก ตามที่ Nicola Tesla (1856-1943,
วิศวกรไฟฟ้า
วิศวกรเครื่องกล ฯลฯ ชาวอเมริกัน-เซอเบีย) กล่าวไว้ว่า อยากรู้ความลับของจักรวาล ต้องมองและพิจารณาทุกอย่างว่า คือพลังงาน ความถี่และการสั่นสะเทือน. (If you want to find the secrets of the
universe, think in terms of energy, frequency and vibration.)
โชติรส รายงาน
๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓.
เชิงอรรถ Endnotes
1.ตำนานเรื่องนี้ เกิดขึ้นในเมืองฮ้าเมล (Hameln, รัฐ Niedersachsen ประเทศเยอรมนี) นักเป่าขลุ่ยคนหนึ่งไปถึงเมือง เสนอตัวว่าจะกำจัดหนูที่มีเต็มเมือง
ที่รบกวนและสร้างความหวาดหวั่นแก่ชาวเมือง, โดยแลกกับค่าตอบแทนจำนวนหนึ่ง.
เขาทำได้สำเร็จอย่างง่ายดาย ด้วยเสียงขลุ่ยของเขา ที่ดึงหนูจากทุกแห่งหน
ออกมาตามเสียงขลุ่ยของเขา. เขาพาพวกหนูมุ่งไปยังแม่น้ำ (แม่น้ำ Weser) ในที่สุดหนูตามลงไปในแม่น้ำและจมน้ำตาย.
ชาวเมืองเห็นว่า เขาทำได้สำเร็จง่ายเกินไปโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย
จึงไม่ยอมจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญา แถมไล่ออกจากเมือง.
นักเป่าขลุ่ยโมโหโกรธาที่ชาวเมืองไม่รักษาคำพูด. ไม่นานต่อมา
เขาเดินเข้าเมืองฮ้าเมลอีก เป่าขลุ่ยไปตามถนนในเมือง พวกเด็กๆลูกของชาวเมืองทั้งหญิงและชาย
(ราว 130 คน) ต่างเดินตามเสียงขลุ่ยเหมือนต้องมนต์สะกด
ตามเขาไปเรื่อยๆข้ามเนินเขาไป และหายสาบสูญไปอย่างลึกลับ (บางเวอชั่นบอกว่า
พวกเขาเดินเข้าไปในถ้ำลึกและถูกปิดขังในนั้น). ตำนานเรื่องนี้ กริมม์(Grimm) ได้ประพันธ์
พัฒนาเป็นนิทานที่ละเอียดและสอนใจ เสริมด้วยเวทมนต์คาถา
แฝงข้อมูลเกี่ยวกับหนูที่เป็นพาหะนำเชื้อ เสนอความจริงของแรงงานที่ถูกบังคับ
สร้างจินตนาการของโลกที่ดีกว่า ที่น่าอยู่กว่าเป็นต้น. (ปัจจุบัน วิเคราะห์กันว่า
เด็กๆที่หายไป คือตายด้วยกาฬโรคจากหนูนั่นเอง เป็นการแก้แค้นของนักเป่าขลุ่ย).
เวอชั่นเยอรมัน เจาะจงใช้คำ « Rattenfänger » อธิบายนักเป่าขลุ่ยคนนี้ ว่าเป็นนักจับหนู.
เราไม่ลืมว่ายุคกลางนั้น
คนกลัวกาฬโรคกันมาก ในประวัติศาสตร์มีกาฬโรคเกิดขึ้นหลายครั้ง
แต่ละครั้งทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ครั้งรุนแรงที่สุดถูกเรียกว่าเป็น โรคดำมรณะ (The Black Death หรือ La peste noire).
Creator: Augustin von Moersperg / Public
domain. The oldest picture of the Pied Piper copied from the glass window of
the Market Church in Hameln/Hamelin Germany (c.1300-1633)
https://www.liberaldictionary.com/the-pied-piper-of-hamelin/
Down the street the piper went, and the children followed.
รูปปั้นนักเป่าขลุ่ยเมืองฮ้าเมลในปัจจุบัน
Hameln
เครดิตภาพ
: itinari.com
2. อุปกรณ์เสียงประเภทต่างๆ
เครื่องดนตรีชนิดใด เพื่อให้ได้ผลที่แท้จริง ต้องเรียนต้องฝึก
ต้องใช้จิตวิญญาณที่แน่วแน่ มือที่นิ่งอยู่กับความถี่หนึ่งใดได้.
ถ้าใช้ความถี่ผิดไป หรือใช้เกินความพอดี ทำให้ร่างกายเสียศูนย์ เกิดผลร้ายได้.
เช่นกรณีที่เกิดขึ้นหลายครั้งในหมู่คนที่นิยมใช้เสียงจากแก้วคริสตัล. ด้วยเหตุดังกล่าว
เอ็มมานูเอล ก๊งต์ เลือกใช้ส้อมเสียงแทน ที่มีประสิทธิภาพสูง
มีวิธีใช้ที่แน่นอนคงที่.
เสียงคนมีบทบาทสำคัญด้วย. การขับร้อง คือการสั่นสะเทือนของส้อมเสียงภายในของตัวคน. ที่ศูนย์เม็ดซง-MedSon ใช้เทคนิคโบราณ ฝึกการร้องเพลงด้วยเสียงสระและด้วยฮาร์โมนิค
ให้จังหวะห่างเป็นช่วงๆ
ทำให้เกิดเสียงก้องควบคู่ไปกับเสียงจากบาตรธิเบตหรือจากเครื่องดนตรีประเภทสายอื่นๆ. การประสมประสานของเสียงแบบนี้
เป็นอัลเคมีของเสียงแบบหนึ่ง. นอกจากนี้ อาจใช้ สี-แสง
บางทีนำ สมุนไพรและแร่หิน มาใช้ควบคู่กัน
ที่กระตุ้นและเสริมประสิทธิภาพของประสาทสัมผัส. เช่นนี้ ศูนย์เม็ดซง ได้สังเคราะห์กระบวนการบำบัดสามสี่ชนิดมาปรับใช้ตามความเหมาะสมเพื่อเสริมความสมดุลของร่างกายตามสภาพเฉพาะของผู้มารับบริการแต่ละกรณี.
ผู้ที่สนใจมาฝึกในศูนย์เม็ดซงนี้ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องดนตรีมาก่อน
หรือเคยเป็นผู้บำบัด (therapist)
มาก่อน.
ในกรอบของกฎหมาย ศาสตร์เรื่องเสียงที่ เอ็มมานูเอล ก๊งต์
สอนและฝึกกันที่ศูนย์ MedSon ไม่ใช่เพื่อไปแทนที่กระบวนการวินิจฉัยโรคของแพทย์
ทั้งในแขนงจิตวิทยา จิตเวชบำบัด หรือแขนงการแพทย์อื่นใด. ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า
นักเสียงบำบัด (sonotherapist) มีความชำนาญและกระบวนการรักษาบำบัดหรือบรรเทา
แตกต่างจากแพทย์อาชีพ ไม่ว่าแพทย์แขนงใด, ไม่เกี่ยวกับและไม่วินิจฉัยโรค
ไม่รักษาหรือทำให้โรคใดหายขาดได้. เสียงบำบัดเหมือนอาหารเสริมที่ไม่อาจแทนอาหารจริงที่ควรบริโภคให้ครบห้าหมู่ในแต่ละวัน.
3. จากพระอภัยมณี ของ สุนทรภู่
«พระฟังความพราหมรณ์น้อยสนองตอบ จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข
อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป
ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช
จตุบาทกลางป่าพนาสิน
แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน
ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ
อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญา
จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง....
พระแกล้งเป่าแปลงเพลงวังเวงใจ เป็นความบวงสรวงพระไทรที่เนินทราย »
การเลือกเป่าเพลงขลุ่ยแบบไหนเวลาใด ส่งผลกระทบต่อผู้ฟังในลักษณะต่างๆ
เช่นกล่อมให้หลับเคลิ้มสบาย, เป่าเพลงบวงสรวง, เป่าเพลงโศก,
เป่าเพลงหวานจนนางเงือกหลงใหล
และเมื่อเป่าเพลงคนละความถี่เพื่อทำลายนางผีเสื้อสมุทร นางก็อกแตกตายในที่สุด.
พระอภัยมณีกับนางเงือก
ผลงานของ
จักรพันธุ์ โปษยกฤต
เพลงปี่ห้ามทัพ
พระอภัยมณีเป่าปี่ยุติทัพนางละเวง เนื่องจากฝ่ายเมืองผลึกเริ่มเพลี่ยงพล้ำ
ศรีสุวรรณและสินสมุทร ต่างติดอยู่ในรถกลของนางละเวง เพลงปี่ของพระอภัยช่วยสยบทัพของนางละเวงได้
ดังที่สุนทรภู่เล่าไว้ว่า
« วิเวกหวีดกรีดเสียงสำเนียงสนั่น คนขยั้นยืนขึ้งตะลึงหลง
ให้หวิววาบทราบทรวงต่างง่วงงง ลืมประสงค์รบสู้เงี่ยหูฟัง
พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง
อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้ ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย
โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร
หนาวอารมณ์ลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น
ระรวยรื่นรินรินกลิ่นเกสร
แสนสงสารบ้านเรือนเพื่อนที่นอน จะอาวรณ์อ้างว้างอยู่วังเวง
วิเวกแว่วแจ้วเสียงสำเนียงปี่
พวกโยธีทิ้งทวนชวนเขนง
ลงนั่งโยกโงกหงับทับกันเอง เสนาะเพลงเพลินหลับระงับไป
»
เนื้อความของเพลงปี่พระอภัยคล้ายคลึงกับเพลงปี่ห้ามทัพของเตียวเหลียงในเรื่อง ไซ่ฮั่น มาก. ขลุ่ยในตำนานต่างๆก็เป็นเช่นนี้. (ref.
https://www.facebook.com/groups/783674078384718/permalink/1399705883448198/
)
บรรณานุกรม อ้างอิงที่น่าสนใจ
1.Emmanuel Comte : Le Son de Vie et la sonorité des Mondes. Éd. Québécor
2011.
2. Emmanuel Comte : Le son de vibrations. Éd. Québev Livres, 304 pages. Janvier 2015.
3. Emmanuel Comte : Le son d'Harmonie. MedSon, 2012.
4. Massimo N. di Villadorata : Manupuncture – Massage basé sur la
technique de l’acupuncture. Éd. Guérin, 2014.
5. https://www.medson.net/outils-therapeutiques/diapasons-therapeutiques.html (ประเภทของส้อมเสียง ตัวอย่างพร้อมภาพและเสียง)
Sonologie 2015 – Emmanuel Comte : Le
Son des vibrations.
Radio Mieux Être. Jun 30, 2016.
7. http://www.academiedesonotherapie.com/what-is-sonotherapy--sound-healing.html
ข้อมูลความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
Sound healing and sonotherapy. Sage Academy of
Sound Energy : 6 Deming Street, 2nd Floor, Woodstock. New York 12498, USA.
8. http://www.singingbowlgongtherapy.eu/sound-healing-gong- mastertraining-/govinda-tiwari-planetary-sound-master
มี Sound
therapist ชาวเนปาล ชื่อ Givinda Pd. Tiwari. สอนประจำที่เมือง Riga ประเทศ Latvia.
9. http://www.singingbowlgongtherapy.eu/jean-daniel-isenschmid-master
ผู้สอนชาวสวิสชื่อ Jean
Daniel Isenschmid ศูนย์ที่เมือง Riga, Latvia.
บทเรียนจากนักดนตรีหูหนวก
คุณหญิงเอฟลีน เกล็นนี ผู้สอนให้คนรู้จักฟัง
มองสีเป็นเสียง บทเรียนจากคนตาบอดสี
*** 12. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5566697/
Focused Ultrasound Treatment, Present and Future. Published online 2017 Jun 28. อธิบายการใช้เสียงอุลตราซาวน์รักษาโรคได้เป็นผลสำเร็จ กรณีต่างๆ. ยกจิตสำนึกเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยด้านนี้ ที่จักช่วยชีวิตคนได้เป็นจำนวนมาก และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการใช้เคมีบำบัด. ปรากฏในวารสารของสมาคม US National Library of Medicine National Institutes of Health ตามลิงค์ที่ให้.
13. https://www.youtube.com/watch? v=9mK93gHFWXs
Resonance : Beings of Frequency (Full Documentary). The Orchard On Demand, Aug 28, 2018.
Focused Ultrasound Treatment, Present and Future. Published online 2017 Jun 28. อธิบายการใช้เสียงอุลตราซาวน์รักษาโรคได้เป็นผลสำเร็จ กรณีต่างๆ. ยกจิตสำนึกเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยด้านนี้ ที่จักช่วยชีวิตคนได้เป็นจำนวนมาก และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการใช้เคมีบำบัด. ปรากฏในวารสารของสมาคม US National Library of Medicine National Institutes of Health ตามลิงค์ที่ให้.
13. https://www.youtube.com/watch?
Resonance : Beings of Frequency (Full Documentary). The Orchard On Demand, Aug 28, 2018.
The truth about mobile
phone and wireless radiation – Dr Devra Davis. Dec 2, 2015. The University of
Melbourne.
-----------------------------------------------------
ตัวอย่างบาตรธิเบตขนาดต่างๆ
กระดิ่ง และภาชนะคริสตัล(สีขาวๆ)
เครดิตภาพ
: http://www.alma.mitchton.com/sonotherapy/
วิธีการใช้เสียงบำบัดด้วยบาตรธิเบต ลักษณะหนึ่ง
เครดิตภาพ : https://consciousnessconceptstore.com/category/sonotherapy/
เสียงขลุ่ยบำบัด จัดวางบาตรธิเบต บนและใกล้ตัว
เพื่อให้เกิดเสียงก้องที่เหมาะสม
เครดิตภาพ : https://www.internisto.com/sonotherapy-what-is-it